วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
กวีวัจนะ📜 ร้อยกระบวนสำนวนไทย (๑) ร่ายสุภาพ/ฉันท์
วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563
🌼โมก : หอมละมุนกรุ่นเสน่ห์ทั้ง วงศ์วาน
วงศ์ : Apocynaceae
ไม้ต้นนี้มีเพื่อนพ้องน้องพี่่ร่วมวงศ์เดียวกันเป็นไม้ดอกสวยงามมากมายเช่น ลีลาวดี บานบุรี ยี่โถ ชวนชม รำเพย ตีนเป็ดและพญาสัตบรรณฯลฯ เป็นต้น ลักษณะเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของพืชในวงศ์นี้คือ มียางเหนียว ๆ สีขาวข้นในแทบทุกส่วนของลำต้นที่จะไหลซึมออกมาทันทีที่ถูกสะกิด ซ้ำร้ายกว่านั้น ยางของไม้ในวงศ์นี้บางต้น โดยเฉพาะยางของต้นรำเพย ยี่โถ และชวนชมยังมีพิษเบื่อเมาอย่างร้ายแรง จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ๆ ที่อาจสัมผัสหรือเผลอรับประทานเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ไก่แก้วจับแก้วขันขาน
กระเหว่าจับกระวานส่งเสียง
เค้าโมงจับโมกมองเมียง
นกหกจับเหียงเคียงจร
วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563
๑๑ เหตุผล💎 ทำไมสุนทรภู่จึงยืนหนึ่งในฐานะกวีเอกเสมอมา..
ย้อนความหลังครั้งเก่าเงาอดีต ทั้งจารีตประเพณีที่สูญหาย
อีกสีสรรพ์วรรณคดีที่พริ้งพราย กับลวดลายนิทานเนิ่นนานมา
เพราะหนังสือถูกทัพดิสรัปชั่น มาห้ำหั่นจนสูญหายไปต่อหน้า
จึงสืบสานพอให้รู้ผ่านหูตา ตามประสาคนเก่า..อยากเล่าให้ฟัง...
คงจะมีคนสงสัยกันบ้างว่า ทำไมกวีเอกอย่างสุนทรภู่ถึงได้รับการยอมรับและยกย่องกันเป็นอย่างมาก ทั้งที่ไทยเรามีกวีฝีมือเยี่ยมและวรรณคดีชั้นครูอยู่มากมาย วันนี้ เราจะมาดูกันว่า กระบวนกลอนสุนทรภู่มีความโดดเด่นอย่างไร ถึงทำให้ท่านยืนหนึ่งตลอดมา…..
รื่นไหลดังสายน้ำ
งดงามด้วยลีลา
อหังการ์เปี่ยมล้น
แยบยลในการเล่า
ปลุกเร้าจินตนาการ
แตกฉานในสัมผัส
เด่นชัดในในอารมณ์
อุดมสุภาษิต
สื่อชีวิตแนบเนียน
เขียนภาษาตลาด
ปราชญ์แห่งการใช้คำ
บางที นี่อาจจะเป็นบทสรุปงานของท่านภู่หรือสุนทรภู่ที่เรารู้จักกันดีในฐานะกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านถือเป็นกวีสี่แผ่นดิน คือเกิดในสมัยรัชกาลที่ ๑ แล้วมีชีวิตอยู่ต่อมาจนถึงรัชกาลที่ ๔ ท่านเกิดและเติบโตมาในรั้ววังหลัง เพราะมีแม่เป็นข้าหลวงอยู่ในวัง ตอนที่ท่านเริ่มโตเป็นโจ๋อยู่แถววังหลังนั้น เป็นช่วงต้นรัชกาลที่ ๒ ที่ถือกันว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีไทย เพราะสังคมเริ่มสงบ เริ่มฟื้นตัวจากพิษสงครามกับพม่า มีการติดต่อค้าขายกับฝรั่ง แขก จีน ไทยไปทั่วกรุงสยามสมัยนั้น ท่านสุนทรภู่คงมีโอกาสคลุกคลีกับนักเดินทางและคนเรือสินค้าที่ขึ้นล่องผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามา ท่านจึงซึมซับความรู้เรื่องราวต่าง ๆ จากโลกภายนอกอย่างกว้างขวาง ประกอบกับในรั้ววังหลังก็คงมีการละเล่น ร้องรำทำเพลงกันเป็นประจำ เช่น เล่าขานวรรณคดี ขับเสภา เล่นกลอนสักวา การละครฟ้อนรำ บรรเลงมโหรีปี่พาทย์ สิ่งเหล่านี้ สุนทรภู่คงคุ้นเคยเป็นอย่างดี เมื่อรวมกับนิสัยรักเรียนเขียนอ่านของท่าน จึงไม่แปลกอะไรที่ท่านจะมีความรู้แตกฉานด้านการใช้ภาษาและสามารถนำออกมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ…
ทีนี้ มาดูกันทีละข้อว่ากลอนของสุนทรภู่มีความโดดเด่นอย่างไร
วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561
🌸 เล็บมือนาง : เล็บนางนามแม่นี้..มีนัย
ยามลมโลมกลางฟ้าใส
กิ่งก้านแม้แกว่งไกว
ยังชูช่ออรชร
แรกขาวแล้วพราวผ่าน
สู่แดงฉานไม่หยุดหย่อน
ผีเสื้อ..หมู่ภมร
เข้าจู่จับระยับตา...ฯ
วงศ์ : Combretaceae
พันธุ์ไม้โบราณดอกหอมของไทย รู้จักกันดีอย่างน้อยตั้งแต่สมัยกลางยุคกรุงศรีอยุธยามาแล้ว จัดเป็นไม้ไทยในวรรณคดีที่มีการพรรณาถึงดอกเล็บมือนางอยู่หลายเรื่อง ดังปรากฎในลิลิตพระลอว่า..
"เล็บมือนางนี้ดั่ง เล็บนาง เรียมนา
ชมม่านนางหวังต่าง ม่านน้อง
ชมพูสไบบาง นุชคลี่ ลางฤา
งามป่านี้ไม้ปล้อง แปลกปล้องคอศรีฯ
วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561
บทกวี >> ใดจักเปรียบปานแม่ ผู้พระในเรือน
วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
สาระนิทาน ชุด ไม้ไทยใจดี 🌿 "ไผ่น้อย..ธรรมดา"
มีพันธุ์ไม้ใหญ่น้อย นับร้อยนับพัน
พ่อแม่พี่น้องของฉัน
ต่างเกิด โต ตาย ที่นั่น เสมอมา
ฉันเป็นพืชตระกูลหญ้า
แต่ต้นโตกว่า เลยเรียกกันว่า"ไผ่"
ญาติพี่น้องมากหน้า มีหน้าตาแตกต่างกันไป
บ้างใบเล็ก บ้างใบใหญ่
บ้างเป็นพุ่ม บ้างเป็นกอ
แต่ล้วนตั้งลำแบ่งข้อ แตกหน่อที่ตา
เขาว่ากันว่า ฉันคล้ายผู้หญิง
ดูดูก็จริง เพราะฉันอ่อนไหว
ฉันชอบร้องเพลง ฉันชอบลู่ลม
เป็นเหมือนม่าน เหมือนพรม
ช่วยกันห่มไม้ใหญ่
ถึงคราวฟ้าพิโรธ ลงโทษป่าด้วยไฟ
ฉันก็พลอยผสม ระเริงลมเต็มที่
ที่ฉันทำอย่างนี้ เธอคงว่าไม่ดีใช่ไหม
แต่ที่จริงฉันทำเพื่อไม้อ่อน
เขาอ้อนวอนขอเติบใหญ่
ฉันจึงต้องเปิดป่า ให้ใบหญ้าได้ระบัด
เป็นโรงอาหารของสัตว์ นานา
วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558
บทกวี >> สองมือแม่นี้ที่สร้างโลก
วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
บทกวี >> ขยะ
วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557
บทอาเศียรวาท >> เทพรัตน์วรรษา มหาจักรีสิรินธร
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
🌼 แก้ว : แพรพรรณบนเนื้อไม้
วงศ์ : Rutaceae
เคยฟังเพลงที่ศิลปินล้านนาผู้โด่งดัง "จรัล มโนเพชร" เคยประพันธ์และขับร้องไว้อยู่้เพลงหนึ่ง ชื่อเพลง "น้อยไจยา" มีเนื้อความตอนหนึ่งว่า 'ดอกพิกุลก็คือดอกแก้ว' ก็ให้สงสัยตงิด ๆ เลยไปค้นดู ครับ..คนทางภาคเหนือเรียกดอกพิกุลว่า ดอกแก้ว จริง ๆ ส่วนดอกแก้วที่เรารู้จักกันกลับไพล่ไปเรียกว่า แก้วพริก..
วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556
กวีวัจนะ 📃 ร้อยกระบวนสำนวนไทย (๔) กลอนสุภาพ
กลอนสุภาพ
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
บทกวี >> บานประตู
โพสต์แนะนำ
สาระนิทาน ชุด ไม้ไทยใจดี 🍽 เรื่อง "ข.ข้าว ขาว ขาว"
เขียวเอย...เขียวพรมผืนใหญ่ ใครมาถักทอไว้ แลไกลสุดตา เจียวเอย... ตัวฉันนั่นไง ใบ ข้าว เขียวเขียว ยืนต้นเดี่ยวเดี่ยว ร...
-
ตำนานเวลา สำหรับคนที่ตกอยู่ในห้วงแห่ง ความรัก ความพอใจ หรือความรื่นเริงบันเทิงมีทั้งหลายทั้งปวง อาจมีความรู้สึกว่าเวลาช่างล่วงเลยไปรวดเ...
-
อังกฤษ – ลอนดอน / ลิสบอน – โปรตุเกส / ฝรั่งเศส – ปารีส / กรีซ – เอเธนส์ / สวีเดน – สต็อคโฮล์ม/ โรม – อิตาลี / นิวเดลฮี – อินเดีย ...
-
เผลอไปกับเทศกาลงานฉลองช่วงลงปีเก่าขึ้นปีใหม่เพียง แว่บเดียว วันเวลาก็ผ่านเลยครึ่งเดือนแรกของปีแล้ว สมกับคำที่โบราณท่านว่าไว้จริง ๆ “เวลา...