เสน่ห์และความงามของภาษาไทย นอกจากความเป็นภาษาเสียง ที่มีท่วงทำนองการอ่านละม้ายคล้ายคลึงกับเสียงดนตรีแล้ว ในแง่คำและความหมายของคำ ยังมีความมหัศจรรย์ให้คนรักภาษาไทยและนักนิรุกติศาสตร์ได้ค้นหาอีกไม่รู้จบ ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัดประการหนึ่ง คือคำที่เกิดจากการประสมกับสระเอ ส่วนใหญ่มักแสดงความหมายว่า “ไม่ตรง” หรือไม่แน่นอน ไม่เชื่อก็ลองสังเกตคำเหล่านี้ดูสิ...
(ฟัน) เก...(ตา) เข... เค้เก้...(เดิน) เฉ...(โซ) เซ...(เตร็ด) เตร่...(ลาด) เท...(หน้า) เบ้...(ขา) เป๋...โยเย...(ร่อน) เร่...เฉ (ไฉ)...เหย.(เก)....หัน (เห)....(ตา) เหล่...
เอ้า! ยกตัวอย่างให้ฟังก็ได้นะ อะไรบ้างล่ะ...
อย่างเช่นคำว่า โคลงเคลง โอนเอน โงนเงน หน้าเบ้ ตาเหล่ ตาเข เหยเก โยเย หันเห เค้เก้ โผเผ โซเซ ขาเป๋ โมเม เกเร
เห็นมะ... ไล่ไปเลย คำพวกนี้ ไม่มีคำไหนที่มีความหมายว่า "ตรง" ซักคำ
จะมีก็แค่คำเดียว….คำนั้นก็คือคำว่า...
ตรงแหน็ว แน่นอน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น