เขียนเรื่องเด็ก ๆ มาหลายตอนแล้ว ขอพักมาพูดเรื่องภาษาไทยของเรากันบ้าง
วันนี้ ขอพูดถึงเรื่องการใช้ไม้ยมก เพราะว่ากันอันที่จริง เราเพิ่งมีไม้ยมกใช้กันในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาสมัยพระชัยราชานี่เอง ก่อนหน้านั้น แม้แต่ตำราภาษาไทยเล่มแรกของไทยคือ “จินดามณี” ซึ่งเรียบเรียงขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังไม่มีไม้ยมกใช้
“อนึ่ง แม่หนังสือแต่ก กา ถึงกนฯลฯจนถึงเกยนั้น เมืองขอมก็แต่งมีอยู่แล้ว
พญาร่วงเจ้า (พ่อขุนรามคำแหง) จึงให้แต่งรูปอักษรไท ต่างต่าง...”
แสดงว่า ไม้ยมกสมัยนั้น ยังไม่มีใช้...
จนอีกกว่าร้อยปีต่อมานั่นแหละ จึงปรากฏในจารึกวัดเขมา (หลักที่ ๑๔) ความว่า “แลกูเกิดมาชาติใด ๆ ก็ดี ขอกูจุ่งมีปรีชญาณแลสมบัติเกิดมาแด่กูทุก ๆ กำเนิด...”
ปรากฎรูป “ๆ” ขึ้นตอนนี้เอง ส่วนข้อที่ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น สันนิษฐานกันว่า เพราะความขี้เกียจของอาลักษณ์หรือเสมียนเขียนหนังสือ ที่เห็นว่าคำเหมือนกันจะไปเขียนสองครั้งให้เมื่อยทำไม เลยเขียนเป็นเลข “๒” ต่อมาเลยเกิดลัทธิเอาอย่างให้เสมียนคนอื่น ๆ เขียนตาม จนเกลื่อนกลายมาเป็นขาเหยียดตรงอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้
ปรากฏการณ์เช่นนี้ในภาษาไทย ชวนให้นึกไปถึงที่มาของคำไทยอีกคำหนึ่งคือ "ณ" ซึ่งใช้ในความหมายปัจจุบันแปลว่า "ที่อยู่,ที่ตั้ง" อาจมาจากการเขียนว่า "ใน" อย่างหวัด ๆ เร็ว ๆ จนอ่านเห็นเป็น "ณ" ก็น่าจะเป็นไปได้เช่นกัน
คำว่า “ยมก”เป็นคำมาจากภาษาบาลี แปลว่า “คู่” หรือ “แฝด” แปลกตรงที่ว่าในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาซึ่งมีคำว่า “ยมกปาฎิหาริย์” ปรากฎอยู่นั้น คำว่า“ยมกปาฎิหาริย์” มิได้มีความหมายว่าคู่เหมือนแต่อย่างเดียว หากยังแปลความหมายถึงการแสดงปาฎิหาริย์เป็นคู่ ๆ แม้จะเป็นคู่ต่างด้วย เช่นพระหัตถ์ซ้ายทรงบันดาลให้เกิดเป็นสายน้ำพวยพุ่งออกมาขณะพระหัตถ์ซ้ายทรงบันดาลให้เกิดเปลวไฟลุกโชนขึ้นมาพร้อมกันด้วย
ชักจะยาว...เห็นทีจะต้องยกยอดไปพูดถึงเรื่องหลักการใช้ไม้ยมกให้เป็นเรื่องเป็นราวในคราวต่อไป...
เพิ่งรู้จริงๆนะนี่ ขอบคุณครับ
ตอบลบเงียบหายไปไหนซะตั้งนาน แอบเอาลิ้งค์ของคุณมาไว้ในบล็อกด้วยนะ...
ตอบลบสวัสดีวันรัฐธรรมนูญค่ะ
ตอบลบแอบตามมาจาก fb ของน้านิต
1. ชอบเกร็ดเกี่ยวกับภาษาไทย จะเก็บไว้อ่านเล่าให้ลูกฟัง
2. เห็นเนื้อเพลงพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง ชอบมากค่ะ เพราะหนึ่งกับลูกชายฟังรายการนี้เกือบทุกเช้าเลย
ลงชื่อเป็นผู้ติดตามไว้แล้วนะคะ
สวัสดีและขอบคุณครับที่ติดตามอ่าน ตั้งความหวังเล็ก ๆ ไว้ว่า จะทำให้บล็อกนี้เป็นประโยชน์แก่เด็กและวงการศึกษาของชาติตามกำลังปัญญาที่มีจนสุดความสามารถ หวังว่าคงติดตามต่อไปเรื่อย ๆ นะครับ
ตอบลบเรื่ิองเพลงอนุบาลทั้งสองชุด ทำร่วมกับน้านิตไว้นานมาแล้วและปล่อยให้คุณ ๆ พ่อค้าเอาไปหากินนานพอที่จะนำมาเผื่อแผ่แก่เด็กและโรงเรียนตามสบายได้แล้ว หากมีเพื่อนที่มีลูกเล็กหรือมีโรงเรียนอนุบาลไหนต้องการ ช่วยบอกต่อ ๆ กันไปด้วยนะครับ ว่าสามารถดาวน์โหลดจากที่นี่ไปใช้ได้ฟรี ...
เรื่องนี้ ได้คุยกับน้านิตในฐานะผู้แต่งและผู้ดำเนินงานผลิตร่วมกันแล้ว เธอยินดีและเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง..
ดีใจจังค่ะ
ตอบลบจะช่วยบอกต่อด้วยกำลังอันน้อยนิดนะคะ
หนึ่งแวะไปติดประกาศไว้ใน 2 เว็บบอร์ดที่เป็นแหล่งชุมนุมของพ่อแม่นะคะ
ตอบลบ