-->

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทกวี >> ฤาโลกนี้มีแต่ฝันอันเหลือร้าย

นี่คือการทวงสิทธิ์ครั้งสุดท้าย เพื่อสืบลมหายใจให้พี่น้อง
ฤาโลกนี้มีแต่ฝันอันเหลือร้าย
ทุกสิ่งจึงดูสายไม่เหลือสวย
ฤาดิน ลม น้ำ ฟ้า ถึงคราม้วย
จึงโลกรวยความทุกข์ขุกเข็ญนัก

แก้วเจ้าจอม บานบุรี คลี่กลีบหม่น
ชเลชลฝูงปลาผวาหนัก
พรมพฤกษาร่ำไห้ยามทายทัก
หรือโลกนี้ป่วยหนักจนรักล้า

จึงมีแต่การทำลายไม่วายเว้น
มีแต่การฆ่าเข่นทุกหย่อมหญ้า
ทั้งผีเสื้อ เนื้อ หนอน สกุณา
ล้วนย่อยยับอัปราเพราะมือเรา

ฤาโลกนี้ไม่มีคนดีแล้ว
เพชรจึงไม่พราวแพรวเหมือนก่อนเก่า
ฤาความดีมัวไล่งับจับเงื้อมเงา
จนซึมเศร้า ดีไม่ได้.. ไปไม่เป็น

เหลือเพียงการวาดหวังที่ยังอยู่
เหลือเพียงแค่ทนดูทนรู้เห็น
อยากยืนรับลมชื่นคืนเดือนเพ็ญ
อยากกล่อมโลก ใจเย็นเย็น.. อย่าเพิ่งตาย

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สาระนิทาน ชุด ไม้ไทยใจดี 🍌"เรื่อง กล้วย..กล้วย"

ฉันคือต้นไม้ธรรมดา รูปร่างหน้าตาแบบกล้วยกล้วย
ฉันคือต้นไม้ธรรมดา
รูปร่างหน้าตาแบบกล้วยกล้วย
ไม่เคยรู้สึก รู้สา
ก็จริงนี่นา  ฉันชื่อ...กล้วย

  ฉันชอบบุกเบิกดงดอน
ตามป่าเมืองร้อน ป่าดิบเขา
ห่มดินให้แล้งหาย..คลายร้อนเร่า
ปลุกพืชหลายเหล่า  มาเป็นเพื่อนคุย

ฉันชอบบุกเบิกดงดอน ตามป่าเมืองร้อน ป่าดิบเขา
จากป่ามาเคียงรั้วบ้าน
ยืนอยู่เหย้า ประจำยาม
พร้อมพวกพี่น้อง..เพื่อนน้ำ
กำหนดนามแตกต่างกันไป




กล้วยหอม  กล้วยน้ำว้า  กล้วยตานี
กล้วยมณี  กล้วยหักมุก  กล้วยไข่

พี่น้อง..เพื่อนน้ำ กำหนดนามแตกต่างกันไป
กล้วยนาก  กล้วยเล็บมือ  กล้วยน้ำไท
กล้วยใต้  กล้วยส้ม  กล้วยหอมจันทร์

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เกร็ดภาษาไทย 📚 สำนวน "ศรศิลป์ไม่กินกัน", "ไม่กินเส้น"

สำนวน "ศรศิลป์ไม่กินกัน", "ไม่กินเส้น"
ตั้งใจไว้แต่เดิมว่า  จะปลีกวิเวกจากการเขียนอะไรต่อมิอะไรไปสักพักหนึ่ง  ด้วยรู้สึกจิตตกจากสาเหตุหลาย ๆ ประการดังที่เราท่านทั้งหลายต่างรับรู้กันดี  จนพลอยทำให้ตัวหนังสือทุกตัวที่วิ่งออกมาจากอารมณ์ ความคิดดูเหมือนเต็มไปด้วยความขุ่นมัว ติติง วิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบต่อสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ในบ้านเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่ สุดท้ายเลยต้องแอบขอลาหยุดกับตัวเอง  เอาแต่สวมหูฟังนั่งทอดหุ่ยฟังเพลงไปเรื่อย  จนหุ่ยที่ทอดไว้ไหม้ไปหลายตลบแล้ว..อิอิ

    เอ่ยถึงคำว่า "ทอดหุ่ย" ขึ้นมา  เลยอดสงสัยไม่ได้ว่าคำ ๆ นี้ที่มาจากไหน โดยเฉพาะคำว่า “หุ่ย”มาจากอะไร  น่าแปลกที่ขนาดถามตาเกิ้ล (คนละคนกับตาเกิ้นในเรื่อง “ล่องไพร” ของ “น้อย อินทนนท์”) ก็ยังไม่ได้เรื่อง  ยังดีที่ได้พบความไม่อยู่กับร่องกับรอยของพจนานุกรมไทยที่ยังความสับสนแก่นักเรียนและประชาชนอีกครั้งในสำนวนนี้ กล่าวคือ ในความหมายเดิม (ฉบับปี ๒๔๙๓) ราชบัณฑิตท่านให้ความหมายว่า “อาการนอนอย่างอ่อนอกอ่อนใจ” พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่สบายใจนั่นแหละ  แต่พอมาถึงฉบับปี ๒๕๒๕ ความหมายกลับเปลี่ยนไปเป็น “การนอนอย่างสบายใจ ปราศจากความวิตกกังวล”....คนละขั้วไปเลย
    ตัวอย่างคล้าย ๆ กันของสำนวนไทยที่แปรเปลี่ยนความหมายไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงอีกคำหนึ่งก็คือ คำว่า "ศรศิลป์ไม่กินกัน"

โพสต์แนะนำ

สาระนิทาน ชุด ไม้ไทยใจดี 🍽 เรื่อง "ข.ข้าว ขาว ขาว"

เขียวเอย...เขียวพรมผืนใหญ่ ใครมาถักทอไว้ แลไกลสุดตา  เจียวเอย... ตัวฉันนั่นไง  ใบ ข้าว เขียวเขียว ยืนต้นเดี่ยวเดี่ยว  ร...