-->

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เกร็ดภาษาไทย 📚 สำนวน "ศรศิลป์ไม่กินกัน", "ไม่กินเส้น"

สำนวน "ศรศิลป์ไม่กินกัน", "ไม่กินเส้น"
ตั้งใจไว้แต่เดิมว่า  จะปลีกวิเวกจากการเขียนอะไรต่อมิอะไรไปสักพักหนึ่ง  ด้วยรู้สึกจิตตกจากสาเหตุหลาย ๆ ประการดังที่เราท่านทั้งหลายต่างรับรู้กันดี  จนพลอยทำให้ตัวหนังสือทุกตัวที่วิ่งออกมาจากอารมณ์ ความคิดดูเหมือนเต็มไปด้วยความขุ่นมัว ติติง วิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบต่อสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ในบ้านเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่ สุดท้ายเลยต้องแอบขอลาหยุดกับตัวเอง  เอาแต่สวมหูฟังนั่งทอดหุ่ยฟังเพลงไปเรื่อย  จนหุ่ยที่ทอดไว้ไหม้ไปหลายตลบแล้ว..อิอิ

    เอ่ยถึงคำว่า "ทอดหุ่ย" ขึ้นมา  เลยอดสงสัยไม่ได้ว่าคำ ๆ นี้ที่มาจากไหน โดยเฉพาะคำว่า “หุ่ย”มาจากอะไร  น่าแปลกที่ขนาดถามตาเกิ้ล (คนละคนกับตาเกิ้นในเรื่อง “ล่องไพร” ของ “น้อย อินทนนท์”) ก็ยังไม่ได้เรื่อง  ยังดีที่ได้พบความไม่อยู่กับร่องกับรอยของพจนานุกรมไทยที่ยังความสับสนแก่นักเรียนและประชาชนอีกครั้งในสำนวนนี้ กล่าวคือ ในความหมายเดิม (ฉบับปี ๒๔๙๓) ราชบัณฑิตท่านให้ความหมายว่า “อาการนอนอย่างอ่อนอกอ่อนใจ” พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่สบายใจนั่นแหละ  แต่พอมาถึงฉบับปี ๒๕๒๕ ความหมายกลับเปลี่ยนไปเป็น “การนอนอย่างสบายใจ ปราศจากความวิตกกังวล”....คนละขั้วไปเลย
    ตัวอย่างคล้าย ๆ กันของสำนวนไทยที่แปรเปลี่ยนความหมายไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงอีกคำหนึ่งก็คือ คำว่า "ศรศิลป์ไม่กินกัน"

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทกวี >> ด้วยรัก....ที่รานร้าว

เอามีดมากรีดน้ำ
แล้วก็ย่ำย้ำรอยเก่า
มีแผลก็แค่เกา
สร้างบทนำคือจำยอม….

เหมือนละครน้ำครำดูซ้ำซาก
เห็นแต่ฉากรวยรูปจูบไม่หอม
วาทศิลป์กล่อมเกลี้ยงเผดียงดอม
หวังเพียงน้อมผู้คนให้ทนดู

จะปรองดองต้องปองดีเป็นที่ตั้ง
เพราะเสียงสั่งของหัวใจให้อดสู
ต่อความหมายพ่ายพับที่รับรู้
หรือตัวกูพวกกูอยู่ต่อไป

เชื่อมั่นประเทศไทย...ให้ใครเชื่อ
ถ้าตัวเองไม่เหลือความยิ่งใหญ่
ยอมระย่อต่อระยำที่ตำใจ
หวังเพียงขั้นบันไดของตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เพลง [s] ดิน...น้ำ...ลม...ไฟ.

ดิน น้ำ ลม ไฟ     รินน้ำใจให้คน

โค้งฟ้า ขุนเขา ทะเลไกล        โชนไฟดวงตะวัน
สายน้ำซัดเซาะดิน            ลมเย็นพัดแผ่ว
ลึกลึก สูงสูง ล้อมเป็นแนว        รวมกันเป็นหนึ่งเดียว
กอดเกี่ยวเกิดพลังแห่งดินฟ้า
 
    ลำธารไหลริน        แผ่นดินเย็นชื่นฉ่ำ
        กลายเป็นไม้งาม    ชีวิตงอกเงย
            ตะวันทอแสงสาด    ลมพัดรำเพย
                เป็นเนืองนิตย์        อุทิศให้คน...
 
        ดิน น้ำ ลม ไฟ     รินน้ำใจให้คน
        ดิน น้ำ ลม ไฟ    จะมีใครทดแทน
 
โค้งฟ้า ขุนเขา ทะเลไกล        ใครมีใจอย่างเธอ
เขาคิดร้ายคิดดี            เธอก็มีรักตอบ
คึกคัก ครึกครื้น ทุกคืนวัน        ยืนยันแรงศรัทธา
สืบกฎธรรมดาแห่งชีวิต... 

ดิน น้ำ ลม ไฟ     รินน้ำใจให้คน
        ดิน น้ำ ลม ไฟ    จะมีใครทดแทน
        ดิน น้ำ ลม ไฟ     มีรักจริงยิ่งใหญ่
        ดิน น้ำ ลม ไฟ    จะมีใครเหมือนเธอ...

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บทกวี >> เขาใหญ่...ในห้วงสนธยา


แผ่นดินนี้พอเพียงเลี้ยงคนขาด แต่ไม่อาจอุ้มโอบคนโลภได้
ซึ่งได้เป็นความหลังแล้วทั้งสิ้น
คือความรัก แรงถวิลและห่วงหา
ไม่มีแล้วดอกไม้ในแววตา
เหลือเพียงแค่ราคาระหว่างคน

ลมร้อนอ้าวร้าวระรุมขึ้นสุมฟ้า
อวิชชาเสียดแทงทุกแห่งหน
ผืนแผ่นดินโฉ่ฉาวด้วยคาวคน
ทรชนยืดร่างอย่างผู้ดี

ปัญญานำพาคนให้พ้นทุกข์
แต่ถึงคราวทุรยุคบดขยี้
คุณธรรมคุณระยำสองคำนี้
เหมือนไม่มีความหมายแตกต่างกัน

เราจะไปไหนกันในวันพรุ่ง
เมื่อทุกคนต่างมุ่งขยายฝัน
จนมองข้ามทุกข์ทนของชนชั้น
ผู้เหลือสิทธิ์แบ่งปันแค่ฝันร้าย

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บทกวี >> ประเทศไทยต้องไม่แพ้...??


ภาพวันนั้น...มันหายไปไหน
ภาพวันนั้น...มันหายไปไหน
รอยยิ้มจริงใจเกลื่อนใบหน้า
เด็กน้อยจูงมือมารดา
พ่อค้าแม่ขายรายทาง

เมืองแก้วร้างแก้วแล้ววันนี้
คลื่นคนขวัญหนีอยู่ไม่สร่าง
กัมปนาทเสียงปืนครืนคราง
ผนึกความอ้างว้างแก่ผู้คน

นี่คือเมืองพระ...เมืองพุทธ
ที่มนุษย์ฆ่ามนุษย์ทุกแห่งหน
และไม่ใช่สงครามประชาชน
แต่เป็นแค่เหตุผล...คนอยากทราม

กับสังคมเน่าเน่าสังคมนี้
เหมือนไม่มีคำตอบทุกคำถาม
มีแต่ “เงิน”และ “งก” คือความงาม
ให้ติดตามตาเห็นไม่เว้นวาย

แล้วจะมีหวังใดให้ได้หวัง
ในเมื่อพลังขับเคลื่อนต่างสูญหาย
เกลื่อนเจ้าที่เจ้าทางไร้ยางอาย
พร้อมส่งผ่านความหมายตายทั้งเป็น

มืดกว่าคืนเดือนมืด...มืดสนิท
ทุกชีวิตเหยาะย่างกลางของเหม็น
ไร้สัญญาณการเยือนของเดือนเพ็ญ
นอกจากหนาวเยียบเย็นและอ่อนล้า

วันนี้...พรุ่งนี้...หรือพรุ่งไหน
จึงไทยคือไทยได้สมค่า
มิใช่เมืองยิ้มคือมายา
กับคาถา..ประเทศไทยต้องไม่แพ้.




เกร็ดภาษาไทย ⏰ นับเวลาแบบไทย...ทุ่ม..โมง..ยาม

ตำนานเวลา

หยุดเขียนไปหลายวันเพราะหดหู่เศร้าใจกับความเป็นไปของสถานการณ์บ้านเมืองจนหมดสิ้นเรี่ยวแรง วันนี้เลยขอต่อเรื่องการนับเวลาแบบไทย ๆ ที่เขียนค้างไว้ให้จบ....

คติไทยสมัยก่อน (หรืออาจจะรวมถึงสมัยนี้ด้วย) นิยมอะไรที่ “ง่ายไว้ก่อน พ่อสอนไว้” จนดูเหมือนจะกลายเป็นค่านิยมทางวัฒนธรรมแบบหนึ่งของไทยเราไปแล้ว แม้แต่ภาษาไทยของเราเองก็ดูจะไม่เว้นเช่นกัน เพราะนับตั้งแต่สมัยแรกกำเนิดภาษาไทยก็นิยมใช้คำโดดหรือคำที่ออกเสียงพยางค์เดียวในการสื่อความหมายอยู่แล้วเช่น ฉัน,รัก, แม่...ฯลฯ

จนกระทั่งต่อมาระยะหลังนั่นแหละ ถึงเริ่มมีการใช้คำควบหรือคำประสมตามอิทธิพลที่ได้รับมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตรวมทั้งภาษาในตระกูลมอญ-เขมรเพิ่มเติมเข้ามา

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะกำหนดนับเวลาตามสิ่งที่เห็นและรู้สึกได้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นคำว่า “โมง” และ “ทุ่ม”อันเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกเวลาช่วงกลางวันและกลางคืน ก็มาจากเสียงย่ำฆ้องและกลองที่ทางวัดใช้ตีบอกเวลาในแต่ละชั่วโมงของวันนั่นเอง เนื่องจากสมัยก่อนนาฬิกามักมีใช้เฉพาะภายในวัดเท่านั้น ชาวบ้านจึงต้องอาศัยเสียงสัญญาณกลองและฆ้องที่ดังมาจากวัดเป็นหลัก บ้างที่อยู่ห่างไกลออกไปจนไม่ได้ยินแม้แต่เสียงย่ำกลองก็ต้องใช้วิธีฟังเสียงปืนใหญ่ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดฯให้ทหารเรือยิงปืนใหญ่ประจำเรือทุก ๆ เที่ยงวันเพื่อประชาชนและบรรดาพ่อค้าวานิชจะได้ใช้เทียบเวลาประจำวัน นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไกลปืนเที่ยง” ซึ่งหมายพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ และยังเป็นที่มาของการกำหนดให้กองทัพเรือเป็นผู้รักษาเว
ลามาตรฐานของประเทศอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บทกวี >> ฤาสยามไร้ผู้รู้หน้าที่



คือความวิปโยคโศกสมัย ประกาศความป่วยไข้ไปทุกแห่ง
คือความวิปโยคโศกสมัย
ประกาศความป่วยไข้ไปทุกแห่ง
เมื่อธรรมะใสพิสุทธิ์หยุดแสดง
ปล่อยกาลีแก่งแย่งสำแดงตน

หรือคนกล้า คนดีไม่มีแล้ว
เหลือแต่กาตาแววผู้สับสน
บริกรรมพร่ำคาถาว่าอดทน
ให้ปวงชนสิ้นหวังทุกครั้งครา

หรือคนดีอยู่ไม่ได้ในเมืองนี้
โลกไม่มีหลักประกันให้คนกล้า
หรือสิ้นสุดกระแสยุติธรรมา
ความชั่วช้าสามานย์จึงพล่านนัก

ปล่อยอัปรีย์ผีร้ายสยายร่าง
เกลื่อนกร่างตำใจให้ติดปลัก
เพื่อนไทยพาไทยให้แล้งรัก
แจ้งประจักษ์เต็มตาก็ครานี้

วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

เกร็ดภาษาไทย ⏳ เวลาที่ผ่านเลย..คำว่า นาฬิกามาจากไหน

เวลาที่ผ่านเลย คำว่า "นาฬิกา"

สำหรับคนที่ตกอยู่ในห้วงแห่ง
ความรัก ความพอใจ หรือความรื่นเริงบันเทิงมีทั้งหลายทั้งปวง อาจมีความรู้สึกว่าเวลาช่างล่วงเลยไปรวดเร็วเสียเหลือเกิน แต่สำหรับคนที่กำลังเผชิญกับความทุกข์ ความเศร้าหมอง หรือความสิ้นหวัง อาจรู้สึกว่าวันเวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้าจนบางครั้ง รู้สึกอึดอัดไปหมด ทั้งที่อยู่ภายใต้พระอาทิตย์ดวงเดียวกัน

การเคลื่อนไปของเวลาจึงเป็นเสมือนรูปแบบอุปาทานชนิดหนึ่งที่จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละคนในช่วงขณะนั้น เหตุนี้กระมังที่ทำให้คนเราต้องประดิษฐ์คิดค้นนาฬิกาขึ้นมา เพื่อกำหนดหน่วยนับเวลาสากลที่ถูกต้องตรงกันแทนเวลาสมมติในความรู้สึกของมนุษย์

คำว่า “นาฬิกา” แต่เดิมเป็นคำมาจากรูปภาษาสันสกฤตว่า “นาฑิกา” แต่แปลงรูป “ฑ” มาเป็น “ฬ” แบบบาลี “นาฬิ” ในภาษาบาลีแปลว่า “ทะนาน” เมื่อรวมกับคำว่า “กา” (กำหนดเครื่องหมาย) เป็น นาฬิกา จึงแปลว่า การใช้ทะนานเป็นเครื่องกำหนดเวลา
เพราะในสมัยโบราณ นิยมวัดเวลาด้วยการใช้ทะนานหรือก็คือกะลามะพร้าวเจาะรูที่ก้นแล้วนำไปลอยน้ำ จนกว่ากะลาจะจม จมครั้งหนึ่งก็เรียกว่า ๑ นาฬิกาหรือ ๑๐ บาทตามมาตราไทย ซึ่งกำหนดหน่วยเวลา ๑ บาท = ๖ นาที สอดคล้องต้องกันกับมาตรฐานเวลาสากลที่กำหนดให้ ๑ นาฬิกา หรือหนึ่งชั่วโมงเท่ากับ ๖๐ นาทีพอดี

ส่วนที่ว่าทำไมเวลาสากลจึงกำหนดเป็นชั่วโมง นาทีและวินาที เรื่องนี้คงต้องย้อนเวลาหาอดีตไปถึงสมัยบาบิโลนโน่นแน่ะ ในฐานะเป็นคนต้นคิดใช้เลขฐานหกเป็นตัวกำหนดการหมุนรอบของวัตถุที่พบเห็นตามธรรมชาติ โดยแบ่งจังหวะการหมุนรอบของสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นหกส่วนส่วนละ ๖๐ องศา หมุนครบหนึ่งรอบก็เท่ากับ ๓๖๐ องศา หนึ่งองศาเท่ากับ ๖๐ ลิปดา และหนึ่งลิปดาเท่ากับ ๖๐ พิลิปดาตามลำดับ กระทั่งต่อมา จึงมีการนำมาปรับใช้กับหน่วยเวลาอีกโสดหนึ่ง

กลับมาเรื่อง
การนับเวลาแบบไทยกันต่อ ไทยเรามีการนับเวลาทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ แบบทางการก็เรียกเป็นนาฬิกาดังได้กล่าวมาแล้วส่วนที่ไม่เป็นทางการก็เรียกตามช่วงเวลาของวันสุดแท้แต่สะดวกปาก มีใช้กันทั้ง..ทุ่ม, โมง, ยาม, ย่ำ, ตี.. ซึ่งคงต้องอธิบายกันยืดยาวไม่น้อยกว่าจะครบถ้วน
กระบวนความ จึงขอยกยอดเอาไว้พูดถึงในตอนต่อไปน่าจะเหมาะกว่า

ก่อนจบ..ขอฝากเรื่องการอ่านเวลาของคนสมัยก่อนสักนิด ซึ่งสมัยนี้คงไม่มีโอกาสได้ยินหรือได้เห็นกันแล้วนอกจากในตำราโหราศาสตร์ ตัวอย่างเช่นวันหนึ่งขึ้นค่ำ ย่ำรุ่งสองนาฬิกา เศษสังขยาห้าบาท แปลไทยเป็นไทยก็คงแปลได้ดังนี้...

วันหนึ่งขึ้นค่ำ = วันขึ้นหนึ่งค่ำ
ย่ำรุ่งสองนาฬิกา = เวลาสองโมงเช้า
เศษสังขยาหมายถึงเศษของหน่วยนับ (สังขยาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงขนม)
ห้าบาท = ๕ x ๖ = ๓๐ นาที
รวมความก็คือ วันขึ้นหนึ่งค่ำ เวลาเช้า ๘.๓๐ น.
เอวัง...


https://planetpt.blogspot.com/search/label/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%20%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

บทกวี >> ก่อนจะถึงปลายทาง


ร้อยรสบทกวี...ก่อนจะถึงปลายทาง
กว่าจะเป็นไม้ใหญ่ได้สักต้น
ต้องต่อสู้ดิ้นรนขนาดไหน
ต้องผ่านลม..ฝน..ฟ้ามาเท่าใด
นก..หนู..หนอน..ชอนไชกี่ภัยพาล

จึงเติบใหญ่ให้เห็นเป็นไม้หลัก
เป็นที่พักที่กินเป็นถิ่นฐาน
ให้ส่ำสัตว์ได้สิงสู่อยู่สุขสราญ
สืบตำนานผู้ให้แห่งไพรเย็น

กว่าเป็นคนเต็มคนสักคนหนึ่ง
กว่าเอื้อมถึงหลักชัยให้เขาเห็น
กว่าเปี่ยมศักดิ์บารมีอย่างที่เป็น
ต้องลำเค็ญแค่ไหนกว่าได้มา

ต้องบ่มเพาะประสบการณ์ทำงานหนัก
ต้องฟันฝ่าอุปสรรคอันหนักหนา
กี่หุบเหว กี่หนาวร้อน กี่อ่อนล้า
จึงสั่งสมบุญญาได้เท่านี้

แล้วไยเล่ายังไม่เข้าใจโลก
ว่าสุขโศกล้วนได้จากใจนี่
แม้อิ่มบุญวาสนามานานปี
ก็หลีกหนีไม่พ้นวงเวียนกรรม

ไยจึงต้องยึดติดนิมิตใหม่
ฝากหัวใจกับคนพาลสันดานต่ำ
ผู้ไร้ค่าแปดเปื้อนแต่เงื่อนงำ
ให้มืดดำในเบื้องท้ายปลายชีวิต

ไม่คิดถึงลูกหลานเลยบ้างหรือ
จึงดึงดื้อดันทุรังสร้างบาปผิด
ให้สายทรามตามตัวไปทั่วทิศ
ตามลิขิตประวัติศาสตร์จักวาดไว้

หยุดเสียเถิด วางเสียเถิด เลิกเสียเถิด
ทางประเสริฐคงรู้อยู่หนไหน
เพื่อบุญของทวยราษฎร์ของชาติไทย
และเพื่อใจไม่ต้องตกนรกนาน...นาน./


บทกวี >> ก่อนจะถึงปลายทาง

วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553

นิทานเพลง : หนูกรุง - หนูนา



ภาพถ่าย

หนูนา: เกิดมาเป็นหนูนา ปัญหามันมีมากมาย
วันวันว้าวุ่นวาย คอยหลบกายซ่อนตัวทั้งเดือนทั้งปี คอยหนีศัตรู
ทั้งคนทั้งงู เหยี่ยวร้ายควายวัว
ทุกคนทุกตัว น่ากลั๊ว..น่ากลัว....(น่าเบื่อด้วย..)

(ร้องแร็พ) เฮ้อ..ชีวิตมันมีแต่ทุกข์
นั่งลุกก็ไม่ค่อยสบาย
ใคร ๆ เขาชอบคิดร้าย ข้าวปลาเสียหาย เขาก็โทษหนูนา
อยากไปซะให้พ้น ๆ ชีวิตอลวน บนดินบนหญ้า
เอ๊ะ! ใครแว้บไป แว้บมา

หนูกรุง : สวัสดีหนูนา ฉันมาเยี่ยมเธอ
หนูนา : โอ๊ะ โอ๋ หนูกรุงนี่นา สวัสดีจ้ะ ดีใจที่ได้เจอ
กำลังคิดถึงเชียวเออ...
หนูกรุง : มีเรื่องอะไรเหรอ
หนูนา : ก็เบื่อน่ะซี
หนูกรุง : ถ้างั้นไปมั้ยล่ะกับฉัน ไปเที่ยวกรุงกัน เดี๋ยวก็มันไปเอง
มีทั้งแสงสี เสียงเพลง ร้องรำบรรเลง ครื้นเครงน่าดู



หนูนา : อือม์..ก็ดี ก็ดีเหมือนกัน รีบไปเลยงั้น ฉันอยากจะรู้
หนูกรุง : แหม..ใจเร็วจริงนะ น้องหนู
หนูนา : อ้าว..ก็อยากไปดู
หนูกรุง : งั้นไปเลยไป...โลด


ดนตรีเปลี่ยน แทรกเสียงความวุ่นวายในเมือง..เสียงรถ..
เสียงเบรก.. มอเตอร์ไซค์..นกหวีด..คนพูด..เสียงจ้อกแจ้กจอแจ
หนูกรุง : (ตะโกน) เร็วเข้า ทางนี้..ทางนี้.. (เสียงวิ่งคึ่ก คึ่ก)


หนูนา : โอ๊ย...คนยังกะมด รถก็เป็นล้าน ควันก็เม้น..เหม็น..
หนูกรุง : ใจเย็น..ใจเย็น..ใจเย็น..
ก็อย่างที่เห็น นี่ละ เมืองกรุง
หนูนา : โอย..ย หัวมันปั่น ดูมันยู้ง..ยุ่ง
หนูกรุง : ก็อย่างนี้แหละลุง ไม่เห็นจะเป็นไร
หนูนา : บรื๊อว์..ว แล้วก็นั่น แมวตั้งหลายตัว
หนูกรุง : ไม่เห็นต้องไปกลัว
หนูนา : โธ่...ไม่กลัวได้ไง
หนูกรุง : โอ๋...โอ๋...ไม่ต้องตกใจ
ค่อย ๆ เดินไป เดี๋ยวก็ถึงบ้านแล้ว...


(ดนตรีทำนองร้อง ๑ ขึ้นบาง ๆ เบา ๆ แล้วค่อย ๆ ดังขึ้น หนาขึ้น
หนูกรุงร้อง)

หนูกรุง : เกิดมาเป็นหนูกรุง อีรุงตุงนังทั้งวัน
แมวเป็นร้อยเป็นพัน ยังหลบทันทุกที
ทั้งควันรถยนต์ ทุกหนแห่งรุม
ทั้งคนชุกชุม โหด ร้าย เลว ดี
ทั้งเดือนทั้งปี ตี่ตะลิดติ๊ดตี ยังสบาย...

(ร้องแร็พ ๒)
หนูนา : เอ๊ะ! แปลกจริง หนูกรุงนี่แปลก
ฉันแทบสติแตก แต่เธอยังเก่ง
หนูกรุง : ใครว่า...?
หนูนา : ฉันว่าเอาเอง ก็เห็นร้องเพลง เหมือนไม่เดือดร้อนเลย
หนูกรุง : เดือดร้อน น่ะ..มันเดือดร้อน
แต่ไม่ทุกข์ร้อน มันก็เลยเฉย ๆ
หนูนา : เอ๊ะ! พูดอะไร ไม่เข้าใจเลย
หนูกรุง : โธ่เอ๊ย ๆ ของมันง่ายจะตาย

( Melody 2 – หนูกรุงร้อง)
ทำใจให้มันสนุก จะนั่งจะลุก มันก็สบาย
ลองใจมันไม่เสียหาย อยู่ไหนก็อยู่ได้ จริงไหมล่ะเพื่อน
ทำใจให้มันสนุก จะนั่งจะลุก มันก็สบาย
ลองใจบอกไม่เป็นไร มันก็ไม่เป็นไร จริงไหมล่ะเกลอ
ทุกสิ่งแปลกตาน่ากลัว ดูแล้วเวียนหู ไม่เอาดีกว่า
หนูกรุง : อ้าว... ก็ไหนบอกว่า เบื่อบ้านนาไง
(หนูนาร้องเพลง)
ทำใจให้มันสนุก จะนั่งจะลุก มันก็สบาย
ลองใจมันไม่เสียหาย อยู่ไหนก็อยู่ได้ จริงไหมล่ะเพื่อน

หนูกรุง : เออ…เออ...ใช่แล้ว...ใช่แล้ว...

(หนูกรุง หนูนา ร้องพร้อมกัน – Melody 2)
ทำใจให้มันสนุก จะนั่งจะลุก มันก็สบาย
ลองใจมันไม่เสียหาย อยู่ไหนก็อยู่ได้ จริงไหมล่ะเพื่อน
ทำใจให้มันสนุก จะนั่งจะลุก มันก็สบาย
ลองใจบอกไม่เป็นไร มันก็ไม่เป็นไร จริงไหมล่ะเกลอ

(ซ้ำ...เฟด..จนจบ)

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

เกร็ดภาษาไทย 🖐 การันต์ – เมื่ออักษรงดออกเสียง

การันต์ – เมื่ออักษรงดออกเสียง คำว่า “การันต์” หมายถึงตัวอักษรที่ไม่ถูกออกเสียง เนื่องจากถูกบังคับไว้โดย “ไม้ทัณฑฆาต” ซึ่งกำกับอยู่ด้านบนตัวอักษรที่ไม่ต้องการให้ออกเสียง ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า มักใช้เฉพาะกับคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ทั้งฝรั่งมังค่าและบาลี-สันสกฤต เนื่องจากมักเป็นคำที่มีหลายพยางค์ จึงต้องใช้เครื่องหมายทัณฑฆาตมาเป็นตัวช่วยบังคับให้งดออกเสียง ทั้งยังช่วยรักษารูปศัพท์ดั้งเดิมให้รู้ว่ามีที่มาจากไหนด้วย นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมถึงต้องมีตัวการันต์และเครื่องหมายไม้ทัณฑฆาตในภาษาไทยของเรา...

ส่วนคำไทยแท้ ๆ นั้น เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด และมีพยางค์
น้อยอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้ตัวการันต์แต่อย่างใด

โดยปกติ คำที่เราหยิบยืมมาใช้โดยเฉพาะจากภาษาบาลี-สันสกฤตที่เรานำ
กำกับทัณฑฆาตเพื่องดออกเสียงนั้น จะการันต์ที่พยางค์ท้ายซึ่งเป็นสระเสียงสั้นอย่างอะ อิ อุ เท่านั้น เช่น พจน์ (สระอะลดรูป) พิสุทธิ์ (สระอิ) พันธุ์ (สระอุ) เป็นต้น

ตัวการันต์กลางพยางค์ ปัจจุบันปรากฏเฉพาะแต่คำยืมที่มาจากภาษาตะวันตก ซึ่งสามารถพบได้โดยทั่วไป เช่น มาร์ค, ชอล์ก, ฟิล์ม, วาล์ว ...ฯลฯ

มีข้อที่ควรระวัง คือเรื่องการใช้การันต์ผิดที่ เช่นคำว่า “ฟิล์ม” ที่ยกเป็นตัวอย่าง เคยเห็นบางคนเขียนว่า “ฟิลม์” ซึ่งต้องอ่านว่า ฟิล หรือคำว่า “ซิลค์” ถ้าไปวางการันต์ผิดที่ (ซิล์ค) ก็ต้องอ่านว่า ซิค โดยไม่อาจอ่านเป็นอื่นได้เลย

อีกเรื่องที่ควรสังเกต คืออักษรที่งดออกเสียงนั้น ต้องอยู่หลังตัวสะกดเท่านั้น จะอยู่ลอย ๆ ไม่ได้ เช่นในคำว่า “โลกนิติ์” ตัว”ต” ยังต้องออกเสียงเป็นอยู่  เพราะเป็นตัวสะกดพอดี  ทัณฑฆาตจึงฆ่าได้เฉพาะเสียงสระอิ ส่วนตัว “ต” หนีรอดไปได้อย่างหวุดหวิด

ตัวการันต์หรือตัวอักษรที่งดออกเสียง จึงเป็นเรื่องชวนฉงนในภาษาไทยอีกเรื่องหนึ่งที่เราควรให้ความสนใจ เพราะว่ากันอันที่จริง การันต์มีตั้งแต่เป็นพยัญชนะตัวเดียว เช่น สิงห์, ปอนด์, องค์...ฯลฯ สองตัว เช่น กาญจน์, สายสิญจน์...ฯ สามตัวเช่นคำว่า พระลักษมน์ ในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น การหมั่นสังเกต จดจำ จึงเป็นความจำเป็นที่เราคนไทยไม่สมควรละเลย เพื่อสืบสายธารแห่งภาษาไทยของเราให้อยู่ยืนตลอดไป. 



การันต์ – เมื่ออักษรงดออกเสียง
https://planetpt.blogspot.com/search/label/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%20%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99เกร็ดภาษาไทย / ภาษาไทย-ใช้ให้เป็น

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

บทกวี >> พลังเงียบ..ต้องไม่เงียบ..!!


พลังเงียบต้องไม่เงียบ ต้องกล้าเหยียบกล้าหยัดยืน
พลังเงียบต้องไม่เงียบ
ต้องกล้าเหยียบกล้าหยัดยืน
ปลุกใจให้ฟื้นตื่น
ด้วยมาดมั่นกระชับมือ

เพลาอนาคต
ถูกกำหนดให้ยึดถือ
จะหงอจะอออือ
หรือกอบกู้เชิดชูธรรม

นี่คือทางสองแพร่ง
ที่ยื้อแย่งชิงการนำ
กี่ถ้อยกี่ร้อยคำ
ก็ไม่สู้หนึ่งใจคิด

เลือกเอาและเลือกเอง
อย่าคร้ามเกรงเพราะเป็นสิทธิ
วันนี้คือชีวิต
จะถูกผิดก็วันนี้

ธำรง “ทรงพระเจริญ”
เพื่อสรรเสริญพลังความดี
หรือปล่อยให้อัปรีย์
มันรื้อบ้านประหารเมือง

เมื่อเลยขีดของเหตุผล
ประสาคนไม่รู้เรื่อง
จาบจ้วงอยู่เนืองเนือง
ควรหรือจะละเว้นมัน

เพื่อนเอ๋ย..พี่น้องเอ๋ย..
อย่าชื่นเชยแต่เพียงฝัน
เมื่อไทยไม่รักกัน
สมานฉันท์ก็ป่วยการ.

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บทกวี >> พิทักษ์ธรรม - พิทักษ์ไทย


โลกนี้ดำรงอยู่เพราะผู้กล้า
ผู้สืบทอดเจตนาท้าวิกฤติ
เพราะยึดมั่นคุณธรรมนำชีวิต
จึงอุทิศเพื่อศรัทธาเช่นว่านั้น

ทุกสงครามย่อมมีวีรบุรุษ
ผู้กล้านำกล้ารุดจุดไฟฝัน
เพื่อหล่อหลอมดวงใจให้ร่วมกัน
จู่ประจันอริราชศัตรู

นับเนื่องบุรพกาลนานมาแล้ว
ที่เถื่อนแถวถ่อยทรามมันหยามหลู่
อนารยะรุ่งเรืองและเฟื่องฟู
เหล่ามังกรต้องอดสูเป็นงูดิน

แต่มีไหมสักครั้งจีรังได้
กับอำนาจบาตรใหญ่ที่โหดหิน
ใต้เงื้อมเงาอับอื้อมือทมิฬ
มีหรือจะสูญสิ้นวิญญูชน

ผู้หาญกล้าต่อสู้เยี่ยงผู้กล้า
ผู้ลบบาปคราบน้ำตาดังห่าฝน
ที่เจิ่งนองท้นทับจับกมล
ของผู้คนทั่วผืนแผ่นดินไทย

เหมือนเทียนน้อยถูกจุดท่ามความมืดมิด
ให้ถ้วนทิศเห็นทางสว่างไสว
แม้จุดหมายปลายทางยังห่างไกล
แต่โชนไฟแห่งความหวังก็ยังดี

ต่อให้ใหญ่คับฟ้าถ้าทุศีล
ถ้าป่ายปีนแต่อสัตย์อันบัดสี
ย่อมมีมือนับร้อยนับหมื่นมี
คอยโจมจี้ยื้อยุดฉุดลงมา

ขอมือน้อยมือนี้อีกมือหนึ่ง
เป็นพลังเอื้อมถึงปรารถนา
แห่งกระแสยุติธรรมนำบัญชา
จากเบื้องฟ้ามาย้ำเน้นให้เป็นจริง.

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เพลง [s] "ตะขาบนักเลง"

อยากจะกัด อยากอวดเก่ง เขาเลยเล็งจิกตีให้ตาย

โคนตะขบ มีตะขาบ มันภูมิใจมีมือตีนนับพัน
หลงว่าเก่ง คิดไปเอง เดินโคลงเคลงเป็นนักเลงทั้งวัน
ไม่เคยหลบ พบใครผ่าน เป็นทะยานพุ่งเข้าใส่ทันควัน
คิดจะกัด งัดเขี้ยวใส่ ใครเป็นใครใม่ใส่ใจไล่กัดทั้งนั้น....

ตัวนิดเดียวตลอดตัวไว้แต่ตีน
มีพิษคอยกัดคน
ใครเผอเรอมาเจอะเจอก็เกือบตาย
ใครทักทายกลับชน

แล้ววันหนึ่ง มีแม่ไก่ เดินงัวเงียมาคุ้ยเขี่ยหากิน
เจ้าตะขาบ คิดกำราบ จึงตรงมาตามประสาคุ้นชิน
เสียดายแม่ไก่ ห็นเป็นหนอนใหญ่
จึงดีใจ รี่เข้าไปไล่จิกอร่อยลิ้น....

อยากจะกัด อยากอวดเก่ง
เขาเลยเล็งจิกตีให้ตาย
กัดสะบัด กัดบ่อยบ่อย
หัวตะขาบเลยหาย.....

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เกร็ดภาษาไทย ❣ ร.รัก มิใช่ ล.ลัก



การอ่านออกเสียงควบกล้ำในภาษาไทยโดยเฉพาะตัว ร,ล ออกจะเป็นปัญหาไม่น้อยสำหรับคนทั่วไป แม้แต่คนที่มีระดับการศึกษาสูง ๆ เองก็ตาม ก็ยังออกเสียงผิดพลาดอยู่บ่อย ๆ ที่เป็นดังนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนระหว่าง “เสียงมาตรฐาน” กับ “สำเนียง” อันคุ้นชินมาจากภาษาถิ่นซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน และอีกส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากขาดการฝึกฝนหรือศึกษาหลักการออกเสียงมานานและมักใช้ตามความสะดวกปากจนเคยตัว ปล่อยให้การอ่านออกเสียงมาตรฐานที่ราบรื่นชัดเจนเป็นเรื่องของผู้คนในแวดวงจำกัดเฉพาะโฆษกพิธีกรและบุคคลสาธารณะบางจำพวกเท่านั้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงมักได้ยินคำพูดประเภท ”เลาต้องปับปุงเปี่ยนแปงโลงเลียนของเลาให้ดี” หรือ “ไปเล็ว ๆ ล่ะ แล้วลีบกับมานะ” อะไรทำนองนี้เป็นประจำ

ออกเสียง “ร” นั้นไม่ยากเลยถ้าเพียงแต่ผ่านการฝึกฝนออกเสียงควบกล้ำให้ถูกต้องเสียแต่แรก ยิ่งถ้าได้เริ่มฝึกมาตั้งแต่เด็กตอนที่ลิ้นยังอ่อนก็ยิ่งดี เพราะจะกลายเป็นความคุ้นชิน ที่นอกจากจะช่วยให้ได้ความถูกต้อง ไพเราะ สละสลวย แล้ว ยังช่วยในการสื่อสารให้สมดังเจตนาของผู้พูดด้วย  ลองนึกดูสิ ถ้าหากเราต้องการครีมล้างหน้าและใช้คนไปซื้อ แต่กลับได้คีมตัดลวดมาแทนเพียงเพราะพูดคำควบกล้ำไม่ชัด...!!!
ฝึกออกเสียง ร,ล ให้ดีนะครับ เพื่อช่วยยืดลมหายใจให้ภาษาไทยมาตรฐาน
ของเราไปนาน ๆ...
เริ่มจากซ้อมอ่านออกเสียงดัง ๆ จากบทกลอนข้างล่างนี้เป็นเบื้องต้นก็ได้จ้ะ...

หากรักใครใคร่ครองต้องครุ่นคิด 

เร่งสำรวจตรวจจริตกรอบนิสัย 
ทั้งครอบครัวครัดเคร่งไม่เกรงใคร 
หรือครึกครื้นรื่นไหลดูไม่งาม 
ต้องครบเครื่องครามครันไม่ครั่นคร้าม 
อย่าโครมครามหรือคร่ำครึดังฤษี
ไม่เกียจคร้านเร่งสานต่ออย่ารอรี 
เพราะรักต้องยินดีพลีเพื่อ “รัก”


หากรักใครใคร่ครองต้องครุ่นคิด  เร่งสำรวจตรวจจริตกรอบนิสัย

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บทกวี >> รักดีต้องกล้าดี...


เพราะใจไม่กล้าชั่ว  และเกลียดกลัวไม่กล้าทำ...
เพราะใจไม่กล้าชั่ว
และเกลียดกลัวไม่กล้าทำ
ธรรมะจึงเพลี่ยงพล้ำ
เหมือนพ่ายแพ้ตลอดมา

ถูกกระทำขยำขยี้
ก็ต่อตีกันซึ่งหน้า
ถูกเขาแกล้งกล่าวหา
ก็เชิดหน้าพร้อมรับกรรม

หัวใจอันกล้าแกร่ง
แม้โรยแรงเพราะถูกย่ำ
คำตอบอาจบอบช้ำ
และผิดหวังทุกครั้งคิด

แต่ใจก็คือใจ
ไม่มีใครกล้าสวมสิทธิ
ชี้นำทางชีวิต
ที่ลิขิตและเลือกเดิน

คนดีจึงกล้าดี
กล้าชวนชี้ที่ควรเมิน
กล้าข้ามทุกโขดเขิน
เพื่อพิสุจน์ถึงเส้นทาง

โลกแห่งอนาคต
จึงปรากฎทุกก้าวย่าง
รอยเท้าที่ทอดวาง
ไม่เคยร้างผู้เดินตาม

เป็นเช่นนี้และเช่นนี้
ตราบยังมีเศษซากทราม
ย่อมมีผู้ก้าวข้าม
และดาหน้าเข้าท้าทาย...


เพราะใจไม่กล้าชั่ว  และเกลียดกลัวไม่กล้าทำ...

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

นิทานรักษ์โลก 🐠 เรื่อง "ปลาสาวเจ้าปัญญา"

นิทาน (๑) ปลาสาวเจ้าปัญญาบึงเล็ก ๆ ริมทุ่งนาแห่งหนึ่งมีน้ำใสสะอาด ดอกบัวหลากสีบานสะพรั่งทั่วผืน
น้ำ สลับกับหมู่ไม้น้ำที่ขึ้นกระจายกันเป็นหย่อม ๆ ลึกลงไปมีสาหร่ายสีเขียว
เป็นริ้วระลอกอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งพักพิงของฝูงปลาและเหล่าสัตว์น้ำได้
อาศัยอยู่อย่างมีความสุข โดยมีตะพาบน้ำชราตัวหนึ่งคอยดูแลบึงเล็ก ๆ
แห่งนี้ให้มีความสงบสุขตลอดมา

นิทาน (๑) ปลาสาวเจ้าปัญญา วันหนึ่ง ขณะที่ปลาสาวตัวหนึ่งกำลังว่ายน้ำเล่นอย่างเพลิดเพลิน เธอก็เหลือบไปเห็นกบตัวหนึ่งกระโดดผ่านหน้าไป
“อ้าว คุณกบ จะไปไหนน่ะ” ปลาสาวร้องทัก
“ก็ว่าจะขึ้นไปหาแมลงที่ชอบมากินใบข้าวในนาฟากโน้นนั่นแหละ
จะเอาบ้างไหมล่ะ ขากลับจะได้เอามาฝาก” กบร้องตอบ

“ไม่ละจ้ะ ขอบใจ ว่าแต่ทำไมต้องไปไกลนักล่ะ แถวนี้ก็มีนี่นา วันก่อนพ่อเขียดเขายังบอกเลยว่าเขาพบแมลงนอนเกลื่อนอยู่แถวโน้นตั้งเยอะแยะ ฉันยังนึกว่าสบายไปแล้วเสียอีกที่หาอาหารได้ง่าย ๆ “
“ฮื่ย..ย..แมลงพวกนั้นกินได้เสียที่ไหนกันล่ะ ตัวแข็งยังไงพิกล เผลอกินเข้าไปทีเป็นคลื่นไส้ทุกที
ฉันไม่เอาด้วยหรอก แหวะ..”
“ฮื่ย..ย..แมลงพวกนั้นกินได้เสียที่ไหนกันล่ะ ตัวแข็งยังไงพิกล เผลอกินเข้าไปทีเป็นคลื่นไส้ทุกที"กบทำท่าหวาดเสียว
“ตายจริง” ตะเพียนสาวอุทาน “ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ”
“ก็ไม่รู้เหมือนกันแหละ รู้แต่ว่าเดี๋ยวนี้ ฉันจะไม่ยอมกินแมลงที่ตายแล้วเป็นอันขาด เฮ้อ..แย่จริง ไอ้ตัวเป็น ๆ ก็หายากเหลือเกิน ไปไหนกันหมดก็ไม่รู้” กบบ่นพึมพำก่อนกระโดดหยอย ๆ จากไป
ด้วยความเป็นปลาช่างคิด เธออดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมแมลงที่ตายแล้วถึงกินไม่ได้
“นี่ถ้าขึ้นไปบนบกได้อย่างกบก็ดีสินะ” เธอคิด “เผื่อจะได้รู้บ้างว่าเกิดอะไรขึ้น”
วันรุ่งขึ้น ปลาสาวว่ายน้ำเล่นอยู่ริมบึงเช่นเคย ขณะนั้นเอง เธอก็เห็นปูนาตัวหนึ่งเดินผ่านมาท่าทางดูแปลกไปจนอดไม่ได้ที่จะร้องถาม “สวัสดีจ้ะ ปูนา เป็นอะไรหรือเปล่า ดูเธอเดินไม่ค่อยไหวเลยนี่”
“อือ..ม์ มันเพลีย ๆ ยังไงก็ไม่รู้ หมู่นี้ ไม่ค่อยสบายอยู่เรื่อยเลย”
“ไปทำอะไรมาล่ะ” ปลาสาวซัก
“ก็ไม่เห็นได้ทำอะไรเลยนี่ ฉันก็ไปกัดกินต้นข้าวในนาตามปกตินั่นแหละ เอ๊ะ! รึว่าต้นข้าว ใช่แล้ว..
สงสัยต้องเป็นต้นข้าวแน่ ๆ เลยที่ทำให้ฉันปวดหัว โอย..ตายละ ทีนี้จะทำยังไงดีล่ะ ถ้าเกิดต้นข้าวเกิดกินไม่ได้ขี้นมาจริง ๆ “ ปูนาตีโพยตีพาย
ตะเพียนสาวโบกหางไปมาอย่างใช้ความคิด เธอชักเอะใจขึ้นมาแล้วว่า ท้องนารอบ ๆ บึงแห่งนี้มีอะไรบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อตัวเธอและเพื่อน ๆ เธอไม่รู้หรอกว่าแท้ที่จริงแล้ว


พวกชาวนานั่นเองที่เป็นต้นเหตุ พวกเขาอยากให้ข้าวโตเร็ว ๆ อยากได้ข้าวมาก ๆ เลยเอายาฆ่าแมลงมาฉีดใส่ต้นข้าว เอาปุ๋ยเคมีพวกชาวนานั่นเองที่เป็นต้นเหตุ พวกเขาอยากให้ข้าวโตเร็ว ๆ อยากได้ข้าวมาก ๆ เลยเอายาฆ่าแมลงมาฉีดใส่ต้นข้าว เอาปุ๋ยเคมี
มาใส่ในนาจำนวนมาก จนทำให้พวกหนอน พวกแมลงตายเกลื่อน โดยที่พวกชาวนาเองก็ไม่รู้ว่าพิษภัยของมันได้ทำให้สัตว์อื่นที่อยู่ใกล้ ๆ แถวนั้น พลอยได้รับอันตรายไปตาม ๆ กัน...
“โอย..อูย...โอย...โอย..” ปลาสาวสะดุ้งคืนจากความคิด เมื่อได้ยินเสียงร้องดังมาไม่ไกลนัก เธอรีบว่ายน้ำไปดูก็พบแม่เตาดำตัวหนึ่งกำลังนอนร้องโอดโอยอยู่ที่ริมตลิ่งแม่เตาดำตัวหนึ่งกำลังนอนร้องโอดโอยอยู่ที่ริมตลิ่ง มีสัตว์น้ำหลายตัวมุงอยู่กันเต็ม
“เกิดอะไรขึ้นน่ะ แม่เต่าดำเป็นอะไรไปหรือ” ปลาสาวร้องถามแมลงดานาที่อยู่
ใกล้ ๆ
“ฉันก็ยังไม่รู้เหมือนกัน ได้ยินว่าเขาไปกินผักบุ้งตรงปลายนาโน่น แล้วก็เกิดปวดท้องจนทนไม่ไหว เดี๋ยวหมอกุ้งก็คงมาแล้วละ พ่อกระดี่เขากำลังไปตามอยู่ โน่นไง มาโน่นแล้ว ปู่ตะพาบก็มาด้วย ไปดูกันเถอะ” แมลงดานาชักชวนปลาสาว
“เอาละ หลาน ๆ ฟังทางนี้” ตะพาบชราร้องเรียกสัตว์ทุกตัวที่อยู่บริเวณนั้น หลังจากเข้าไปดูหมอกุ้งรักษาพยาบาลแม่เต่าดำจนเสร็จ
“พวกเราคงรู้กันบ้างแล้วว่า บึงน้ำของเรากำลังจะไม่ใช่ที่อยู่อันสงบสุขของพวกเราอีกต่อไปแล้ว
หลายวันมานี้ พวกเราบางตัวไม่สบาย บางตัวถึงตายไปแล้วก็มี ปู่และหมอกุ้งได้ปรึกษากันมาหลายวันแล้ว  ได้ความว่าพวกมนุษย์ที่ทำนานั่นเองที่สร้างปัญหา...
“เขาทำอะไรพวกเราน่ะ แล้วพวกเราจะต้องตายกันหมดไหม” หลายส่งเสียงจ้อกแจ้กระงมไปหมด

“เดี๋ยว..เดี๋ยว เงียบ ๆ กันหน่อย” ปู่และหมอกุ้งได้ปรึกษากันมาหลายวันแล้ว  ได้ความว่าพวกมนุษย์ที่ทำนานั่นเองที่สร้างปัญหา...ปู่ตะพาบทำสัญญาณปราม
“ปู่ว่าที่จริงพวกมนุษย์เขาก็คงไม่ได้มีเจตนาทำร้ายพวกเราให้ตายหรอก เพียงแต่เขาอาจไม่ทันได้คิดอะไร นอกจากอยากให้ต้นข้าวของพวกเขาโตเร็ว ๆ เลยใส่สิ่งที่เรียกว่า “ยาปราบศัตรูพืช” ลงไปเพื่อป้องกันแมลงไม่ให้ไปรบกวนต้นข้าวของเขา ทีนี้ เมื่อใส่มาก ๆ เข้า มันก็เลยทำให้สัตว์อื่น ๆ พลอยไม่สบายไปด้วย โดยเฉพาะพวกที่ชอบกินแมลงเป็นอาหารอย่างนก กบ เขียดรวมทั้งปลาบางชนิด สัตว์อื่น ๆ พลอยไม่สบายไปด้วย โดยเฉพาะพวกที่ชอบกินแมลงเป็นอาหาร ตอนนี้ ทุ่งนารอบ ๆ บึงของเรามียาพวกนี้เต็มไปหมด อีกหน่อยก็คงลงมาในน้ำ ทีนี้ละ พวกเราทุกตัวก็คงหนีไม่พ้น ต้องตายกันหมดแน่ ๆ ถึงดอกบัวในน้ำก็ถอะ คงต้องเฉาตายเหมือนกัน” ตะพาบชรามองสัตว์ทุกตัวด้วยความสงสาร

ที่เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้น ก็เพราะพวกมนุษย์เขาอาจไม่รู้ก็ได้ว่า ได้ทำอะไรลงไป
“ตายละ แล้วทีนี้พวกเราจะทำยังไงกันดีล่ะ ปู่” สัตว์ตัวหนึ่งถามขึ้น
“ปู่ก็ไม่รู้เหมือนกันแหละ หลานเอ๊ย” ปู่ตะพาบตอบ “เราไม่มีทางทำอะไรได้หรอก นอกจากพวก
มนุษย์เขาจะเห็นใจเรา ไม่ปล่อยสิ่งมีพิษลงมาในน้ำอีก”
“ใช่แล้วละ นึกออกแล้ว” ปลาสาวร้องขึ้นอย่างดีใจ “บางที ที่เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้น ก็เพราะพวกมนุษย์เขาอาจไม่รู้ก็ได้ว่า ได้ทำอะไรลงไป.. ถ้างั้น เราก็หาทางบอกพวกเขาสิ ปู่ ทำอะไรสักอย่างให้เขารู้ให้ได้..”
“จริงซี” ปู่ตะพาบคล้อยตาม “แต่เราจะบอกเขาได้ยังไงล่ะ ไม่มีใครพูดภาษาคนได้นี่”
“เอาอย่างนี้สิ” เธอเอียงตัวเข้าไปซุบซิบบอกแผนการให้ปู่ตะพาบฟัง
รุ่งขึ้น เมื่อชาวนามาถึงทุ่งนาก็ต้องรู้สึกประหลาดใจ เมื่อเห็นสัตว์เล็ก ๆ นอนตายเกลื่อน

รุ่งขึ้น เมื่อชาวนามาถึงทุ่งนาก็ต้องรู้สึกประหลาดใจ เมื่อเห็นสัตว์เล็ก ๆ นอนตายเกลื่อน ปลาสาวเจ้าความคิดนั่นเองที่บอกให้เพื่อน ๆ ของเธอช่วยกันกระจายข่าวสารพิษในนาข้าวที่ชาวนาเอามาใส่ไว้ให้เพื่อนสัตว์ที่อาศัยตามท้องนารับรู้ และให้ช่วยกันแกล้งทำเป็นนอนตายให้ชาวนาเห็น ขณะเดียวกัน พวกสัตว์น้ำก็พากันลอยเป็นแพทุกครั้งที่คนมาตักน้ำ หรือเก็บดอกไม้ในบึง จนพวกชาวนาชักไม่สบายใจขึ้นทุกที
“เอ..หมู่นี้บ้านเราดูมันมีอะไรแปลก ๆ พิกล” ชาวนาคนหนึ่งปรับทุกข์กับเพื่อน “ไปไหนมาไหนก็
ได้เห็นนก หนู ปู ปลา ตายกันเรื่อยเชียว ดูท่าชักจะไม่ค่อยดีแล้วละ”
“นั่นสิ ถึงว่าเถอะ แม้แต่ไอ้ทุยของฉันก็ดูซึม ๆ ไป ฉันว่าลองไปหาผู้ใหญ่ดูดีไหม เผื่อแกจะช่วยได้บ้าง”
ผู้ใหญ่เรียกประชุมลูกบ้านและบอกทุกคนว่า ยาและสารเคมีที่พวกเขานำไปใส่ต้นข้าวนั้น มีผลร้ายอย่างไรบ้างอย่าลืมที่ปู่ตะพาบบอกไว้แล้วกันนะ อย่าเผลอไปเที่ยวกัดกินต้นข้าวของชาวนาเรื่อยเปื่อยอีกล่ะ เดี๋ยวเขาเดือดร้อน..
“เฮ่ย..เรื่องแบบนี้ผู้ใหญ่คงช่วยอะไรไม่ได้หรอก ข้าว่าเราไปถามหมอในเมืองดีกว่ามั้ง ไป..ไปด้วยกัน”
เหตุการณ์ดำเนินไปตามแผนของพวกสัตว์ เมื่อหมอในเมืองทราบเรื่องและมาตรวจที่ทุ่งนา ก็รู้ได้ทันทีว่าเกิดอะไรขึ้น หมอรีบขอให้ผู้ใหญ่เรียกประชุมลูกบ้านและบอกทุกคนว่า ยาและสารเคมีที่พวกเขานำไปใส่ต้นข้าวนั้น มีผลร้ายอย่างไรบ้าง ทำให้ชาวบ้านพากันเลิกใช้ แล้วความสงบสุขจึงกลับมาเยือนทุ่งนาและบึงน้ำอีกครั้ง

“ปลาแสนสวยจ๋า แหม..ว่ายน้ำเพลินเชียวนะ ไม่ทักทายกันบ้างเลย”
“อ้าว! พี่ปูนา ขอโทษเถอะจ้ะ ไม่ทันเห็นจริง ๆ เป็นไงบ้างล่ะจ๊ะ พักนี้”
“สบายดีจ้ะ” ปูนาตอบ “เดี๋ยวนี้ฉันไปเที่ยวทุ่งทุกวันเลย หาอะไรกินได้ตั้งเยอะแยะ ไม่ต้องคอยระวังเหมือนก่อน พูดก็พูดเถอะนะ เรื่องนี้ต้องขอบใจเธอจริง ๆ ที่มีหัวคิดเจ๋งมาก นี่ถ้าไม่ได้เธอช่วยละก็   เฮ้อ..ป่านนี้..”

“แหม..ไม่เอาน่า พูดอย่างนี้ฉันก็เขินแย่สิ ว่าแต่ว่าอย่าลืมที่ปู่ตะพาบบอกไว้แล้วกันนะ อย่าเผลอไปเที่ยวกัดกินต้นข้าวของชาวนาเรื่อยเปื่อยอีกล่ะ เดี๋ยวเขาเดือดร้อนหนักเข้า ก็จะเอายามาใส่  ทำให้พวกเราลำบากกันอีกหรอก” ปลาสาวพูด

“โธ่เอ๊ย..ไม่ต้องห่วงหรอก ฉันจำได้แม่นเชียวละ ฉันสัญญากับตัวเองแล้วว่า จะไม่ทำให้ชาวนา
ต้องเดือดร้อนเป็นอันขาด ไม่ใช่แค่ฉันเท่านั้นนะ เพื่อน ๆ ฉันก็เหมือนกัน รับรองน่า...” ว่าแล้ว ปูนาก็เดินจากไปอย่างมีความสุข

แดดอ่อน ๆ ยามเช้า สาดแสงลงมากระทบระลอกคลื่นเหนือบึงใหญ่ เป็นริ้วทอประกายระยิบระยับแดดอ่อน ๆ ยามเช้า สาดแสงลงมากระทบระลอกคลื่นเหนือบึงใหญ่ เป็นริ้วทอประกายระยิบระยับ
ราวกับเป็นสัญญาณเริ่มต้นชีวิตใหม่ของบรรดาสัตว์ทั่วบริเวณบึงน้ำ
ไกลออกไป ต้นข้าวกำลังทอดใบเขียว พลิ้วโอนเอนเป็นผืนยาวสุดสายตา สายลมอ่อน ๆ พัดโชย  นำความร่มเย็นและสุขสงบมาสู่ทุกชีวิตอีกครั้ง...
http://planetpt.blogspot.com/search/label/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81

นิทาน (๑) ปลาสาวเจ้าปัญญา



วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

เพลง [s] "นกกับหนอน"

เพลง [s] "นกกับหนอน"


นกน้อยตัวหนึ่งบิน หากินไปเรื่อยตามสุมทุมพุ่มไม้
นกน้อยตัวหนึ่งบิน หากินพอเหนื่อยแวะพักนอนเรื่อยไป
สบายใจเหลือเกิน

ผ่านมาเจอะเจอเอ้อเฮอเจ้าหนอนตัวใหญ่
จะจับเอาไปใส่โพรงไว้มื้อเย็นกิน
ฝ่ายเจ้าหนอนแสนเกรงกลัว
เสียงระรัวทำตัวเล็กลง
ร้องตรงตรงบอกอย่าเพิ่งเลย อย่าเพิ่งกิน

จะให้กินพรุ่งนี้...

เจ้านกน้อยงงจนพูดอะไรไม่ออก

เผลอใจไปรับคำโดยดี
อ้อยอี๋เอียง..อ้อยอี๋เอียง..แล้วบินเลยลับไป
อ้อยอี๋เอียง..อ้อยอี๋เอียง..แล้วบินเลยลับไป
ตื่นนอนกลับมาตรวจตราหาหนอนตัวเก่า
แปลก..แปลกจริงเราทำไมหาหนอนไม่เจอ
กว่าจะรู้ เจ้าหนอนกลายไปเป็นผีเสื้องดงาม
ร้องมาตามสายลมเบา ๆ
เจ้านกเอย..เจ้านกเอย เชิญสิ เชิญมากิน

เจ้านกน้อยงงจนทำอะไรไม่ถูก
ร้องไปตามหัวใจงง ๆ
หม่ำไม่ลง...หม่ำไม่ลง แล้วบินเลยลับไป

หม่ำไม่ลง...หม่ำไม่ลง แล้วบินเลยลับไป

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

เกร็ดภาษาไทย 🌀 บล๊อก...บล็อก...ไม้เจ็ด...ไม้แปด...หลักการใช้ไม้ตรี ไม้ไต่คู้

เผลอไปกับเทศกาลงานฉลองช่วงลงปีเก่าขึ้นปีใหม่เพียง
แว่บเดียว วันเวลาก็ผ่านเลยครึ่งเดือนแรกของปีแล้ว
สมกับคำที่โบราณท่านว่าไว้จริง ๆ “เวลาและวารี ไม่เคยรอรีคอยท่าใคร...”
ขอเปิดศักราชใหม่ต้อนรับปีเสือด้วยคำง่าย ๆ ว่า “บล็อก” ที่บังเอิญได้ยินวัยรุ่นเขาคุยกัน
ว่าอยากจะทำนี่แหละ แล้วจึงเลยไปถึงการถกเถียงกันเรื่องไม้เจ็ดไม้แปดไปโน่น
ตอนแรกนึกว่าเขากำลังพูดถึงเรื่องวิ่งผลัด...
เอ..แล้ววิ่งผลัดประเทศไหนกันนะที่มีไม้เจ็ดไม้แปด สุดท้ายจึงจับความได้ว่า ไม้เจ็ดไม้แปดที่เขาหมายถึงก็คือ ไม้ตรีและไม้ไต่คู้ที่ใช้สะกดคำว่า “Blog”ในภาษาไทยนี่เอง จะใช้ไม้อะไรดี...
ที่จริง ถ้าจับหลักได้ก็ง่ายนิดเดียวสำหรับการทำความเข้าใจในเรื่องนี้

เริ่มจากไม้ตรีหรือ ๗ หรือเลขเจ็ดไทยเด็กบางคน เรียกก่อน..
เรารู้กันอยู่แล้วว่า ไม้ตรี คือวรรณยุกต์ที่ใช้ผันเสียงตรีให้กับอักษรกลางเท่านั้น ส่วนอักษรต่ำ จะต้องใช้ไม้โทในการผันเสียงตรี...


หลักข้อต่อมา ว่าด้วยไม้ไต่คู้...
ไม้ไต่คู้ เป็นเครื่องหมายกำกับสระให้ออกเสียงสั้น และใช้กำกับเฉพาะพยางค์ที่มีตัวสะกด เท่านั้น ยกเว้นคำว่า “ก็”ซึ่งลดรูปมาจาก “เก้าะ” เป็นคำเฉพาะเพียงคำเดียว นอกนั้น มักใช้วิธีเปลี่ยนรูปไปเลย เช่น เอะ+น = เอ็น, เหะ+น = เห็น, แขะ+ง = แข็ง, เลาะ+ก = ล็อก เป็นต้น..

โดยทั่วไป ไม้ไต่คู้มักใช้กำกับคำไทยและคำจากภาษาอื่นที่ไม่ใช่บาลี สันสกฤตเพื่อกำหนดให้ออกเสียงสั้น เช่น เค็ม เซ็ง เผ็ด เสร็จ เสด็จ ฮาเร็ม ช็อกโกเล็ต...ฯลฯ ที่ไม่ต้องการออกเสียงสั้นก็ไม่ต้องใส่ไม้ไต่คู้เช่น เลน เสน เบน เอน...ฯลฯ ส่วนคำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤต ถือเป็นข้อต้องห้ามมิให้ใช้ไม้ไต่คู้กำกับ แม้จะออกเสียงสั้นก็ตามตัวอย่างคำเหล่านี้ที่เราคุ้นเคยกันดีก็เช่น คำว่า เพชร เบญจวัคคีย์ เป็นต้น

ปัญหาต่อไปที่น่าพิจารณาก็คือ แล้วเสียงตรีได้มาจากไหน ในเมื่อไม้ไต่คู้ไม่ใช่วรรณยุกต์ แต่ทำไมจึงมีอำนาจผันเสียง ดังที่ปรากฎในคำว่า “ลอก” (เสียงโท) กลับกลายเป็นเสียงตรีทันทีที่ใส่ไม้ไต่คู้กำกับ (ล็อก)
 เช่นเดียวกับคำว่า “บลอก” (เสียงเอก) ซึ่งมีอักษรนำเป็นอักษรกลางจึงออกเสียงตรีได้ก็ต่อเมื่อมีวรรณยุกต์ตรี (๗) กำกับ (บล๊อก) แต่เนื่องจากแม้มีเสียงตรีปรากฏ ก็ยังมิใช่ออกเสียงสั้นอย่างแท้จริง จึงต้องใช้ไม้ไต่คู้กำกับ เพื่อให้ได้เสียงสั้นตามต้องการ

คำตอบของการผันเสียง จึงมิได้อยู่ที่ไม้ใต่คู้แต่อย่างใด หากอำนาจของการผันเสียงอยู่ที่พยัญชนะ
ที่ผันไปตามอักษรสูง กลาง ต่ำ นั่นเอง...
คำว่า Blog เมื่อเขียนเป็นภาษาไทยจึงควรใช้ว่า “บล็อก” เช่นเดียวกับคำว่า Taxi เมื่อ
เขียนเป็นภาษาไทยก็ควรใช้ “แท็กซี” โดยอาศัยหลักเดียวกัน
เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้...

                                   บล๊อก...บล็อก...ไม้เจ็ด...ไม้แปด...หลักการใช้ไม้ตรี ไม้ไต่คู้
เกร็ดภาษาไทย/ภาษาไทย-ใช้ให้เป็น   https://planetpt.blogspot.com/search/label/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%20%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99

โพสต์แนะนำ

สาระนิทาน ชุด ไม้ไทยใจดี 🍽 เรื่อง "ข.ข้าว ขาว ขาว"

เขียวเอย...เขียวพรมผืนใหญ่ ใครมาถักทอไว้ แลไกลสุดตา  เจียวเอย... ตัวฉันนั่นไง  ใบ ข้าว เขียวเขียว ยืนต้นเดี่ยวเดี่ยว  ร...