วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บทกวี >> คืนเหงา

เห็นตำตา..ตาจึงจำ..ไว้ตำใจ.

มาเพื่อชื่นดวงดาวพร่างพราวฟ้า
มาเพื่อทอดเวลาหาเหตุผล
มาเพื่อหลบหน้าหมองของผู้คน
มาเพื่อพ้นเงาทะมื่นที่กลืนเมือง

โอ้ละหนอ..ความดีที่หล่นหาย
กลับกลืนกลายเป็นเลวเสียทุกเรื่อง
แหงนมองฟ้าฟ้าเหงาเงาเรื่อเรือง
เหมือนซ่อนเคืองอัดอั้นกับฝันร้าย

คืนวันนี้..วันนั้น..หรือวันไหน
ล้วนจัญไรเจิดแจรงไม่แหนงหน่าย
สารพัดสารภัยก็ไล่ราย
เหลือเพียงเพลงสุดท้ายจะร่ายพิษ

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บทกวี >> เมืองใด...

เมืองใดไร้ชื่อเรื่องซื่อตรง  จะเชิดหน้าทระนง...อย่าหวังเลย

เมืองใดไร้ซึ่งสิ่งพึงมี...
ย่อมขาดไร้ศักดิ์ศรีและคุณค่า
เมืองใดไร้ผู้ควรบูชา
ก็ได้แต่รอเวลาที่ดับลง

เมืองใดไร้ซึ่งทหารหาญ
ก็รอวันแหลกลาญเป็นผุยผง
เมืองใดไร้ชื่อเรื่องซื่อตรง
จะเชิดหน้าทระนง...อย่าหวังเลย

เมืองใดไร้ธรรมเป็นอำนาจ
กลับยอมรับทรราชย์หน้าตาเฉย
ย่อมไม่อาจอยู่เย็นเหมือนเช่นเคย
เหลือแต่ความเฉยเมยในแววตา

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทกวี >> ฤาโลกนี้มีแต่ฝันอันเหลือร้าย

นี่คือการทวงสิทธิ์ครั้งสุดท้าย เพื่อสืบลมหายใจให้พี่น้อง

ฤาโลกนี้มีแต่ฝันอันเหลือร้าย
ทุกสิ่งจึงดูสายไม่เหลือสวย
ฤาดิน ลม น้ำ ฟ้า ถึงคราม้วย
จึงโลกรวยความทุกข์ขุกเข็ญนัก

แก้วเจ้าจอม บานบุรี คลี่กลีบหม่น
ชเลชลฝูงปลาผวาหนัก
พรมพฤกษาร่ำไห้ยามทายทัก
หรือโลกนี้ป่วยหนักจนรักล้า

จึงมีแต่การทำลายไม่วายเว้น
มีแต่การฆ่าเข่นทุกหย่อมหญ้า
ทั้งผีเสื้อ เนื้อ หนอน สกุณา
ล้วนย่อยยับอัปราเพราะมือเรา

ฤาโลกนี้ไม่มีคนดีแล้ว
เพชรจึงไม่พราวแพรวเหมือนก่อนเก่า
ฤาความดีมัวไล่งับจับเงื้อมเงา
จนซึมเศร้า ดีไม่ได้.. ไปไม่เป็น

เหลือเพียงการวาดหวังที่ยังอยู่
เหลือเพียงแค่ทนดูทนรู้เห็น
อยากยืนรับลมชื่นคืนเดือนเพ็ญ
อยากกล่อมโลก ใจเย็นเย็น.. อย่าเพิ่งตาย

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สาระนิทาน ชุด ไม้ไทยใจดี 🍌"เรื่อง กล้วย..กล้วย"

ฉันคือต้นไม้ธรรมดา รูปร่างหน้าตาแบบกล้วยกล้วย
ฉันคือต้นไม้ธรรมดา
รูปร่างหน้าตาแบบกล้วยกล้วย
ไม่เคยรู้สึก รู้สา
ก็จริงนี่นา  ฉันชื่อ...กล้วย

  ฉันชอบบุกเบิกดงดอน
ตามป่าเมืองร้อน ป่าดิบเขา
ห่มดินให้แล้งหาย..คลายร้อนเร่า
ปลุกพืชหลายเหล่า  มาเป็นเพื่อนคุย

ฉันชอบบุกเบิกดงดอน ตามป่าเมืองร้อน ป่าดิบเขา
จากป่ามาเคียงรั้วบ้าน
ยืนอยู่เหย้า ประจำยาม
พร้อมพวกพี่น้อง..เพื่อนน้ำ
กำหนดนามแตกต่างกันไป




กล้วยหอม  กล้วยน้ำว้า  กล้วยตานี
กล้วยมณี  กล้วยหักมุก  กล้วยไข่

พี่น้อง..เพื่อนน้ำ กำหนดนามแตกต่างกันไป
กล้วยนาก  กล้วยเล็บมือ  กล้วยน้ำไท
กล้วยใต้  กล้วยส้ม  กล้วยหอมจันทร์

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เกร็ดภาษาไทย 📚 สำนวน "ศรศิลป์ไม่กินกัน", "ไม่กินเส้น"

สำนวน "ศรศิลป์ไม่กินกัน", "ไม่กินเส้น"
ตั้งใจไว้แต่เดิมว่า  จะปลีกวิเวกจากการเขียนอะไรต่อมิอะไรไปสักพักหนึ่ง  ด้วยรู้สึกจิตตกจากสาเหตุหลาย ๆ ประการดังที่เราท่านทั้งหลายต่างรับรู้กันดี  จนพลอยทำให้ตัวหนังสือทุกตัวที่วิ่งออกมาจากอารมณ์ ความคิดดูเหมือนเต็มไปด้วยความขุ่นมัว ติติง วิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบต่อสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ในบ้านเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่ สุดท้ายเลยต้องแอบขอลาหยุดกับตัวเอง  เอาแต่สวมหูฟังนั่งทอดหุ่ยฟังเพลงไปเรื่อย  จนหุ่ยที่ทอดไว้ไหม้ไปหลายตลบแล้ว..อิอิ

    เอ่ยถึงคำว่า "ทอดหุ่ย" ขึ้นมา  เลยอดสงสัยไม่ได้ว่าคำ ๆ นี้ที่มาจากไหน โดยเฉพาะคำว่า “หุ่ย”มาจากอะไร  น่าแปลกที่ขนาดถามตาเกิ้ล (คนละคนกับตาเกิ้นในเรื่อง “ล่องไพร” ของ “น้อย อินทนนท์”) ก็ยังไม่ได้เรื่อง  ยังดีที่ได้พบความไม่อยู่กับร่องกับรอยของพจนานุกรมไทยที่ยังความสับสนแก่นักเรียนและประชาชนอีกครั้งในสำนวนนี้ กล่าวคือ ในความหมายเดิม (ฉบับปี ๒๔๙๓) ราชบัณฑิตท่านให้ความหมายว่า “อาการนอนอย่างอ่อนอกอ่อนใจ” พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่สบายใจนั่นแหละ  แต่พอมาถึงฉบับปี ๒๕๒๕ ความหมายกลับเปลี่ยนไปเป็น “การนอนอย่างสบายใจ ปราศจากความวิตกกังวล”....คนละขั้วไปเลย
    ตัวอย่างคล้าย ๆ กันของสำนวนไทยที่แปรเปลี่ยนความหมายไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงอีกคำหนึ่งก็คือ คำว่า "ศรศิลป์ไม่กินกัน"
คำ ๆ นี้ที่จริงเป็นคำคู่ เพราะทั้งคำว่า “ศร” และคำว่า “ศิลป์” ในสมัยก่อนต่างก็หมายถึงลูกธนูเช่นเดียวกัน สำนวนนี้มีที่มาจากวรรณคดี “รามเกียรติ์”  ซึ่งมีเค้าเรื่องคล้ายกันอยู่ถึงสองตอนด้วยกัน   ตอนหนึ่งคือศึกไมยราพณ์ เป็นตอนที่หนุมานรบกับมัจฉานุผู้เป็นลูกที่เกิดจากนางสุวรรณมัจฉา  เพียงแต่ตอนนี้ อาวุธที่ทั้งคู่ใช้ ไม่ใช่ลูกศร  ส่วนอีกตอนหนึ่งอันเป็นที่มาของสำนวนนี้โดยตรงคือ ตอนที่พระรามออกไปรบกับพระมงกุฎและพระลบผู้เป็นบุตร  โดยที่ต่างฝ่ายต่างยังไม่รู้จักกัน ปรากฏว่า ศรที่พระรามแผลงออกไปกลับกลายเป็นขนมนมเนยไปเสียหมด ขณะที่ฝ่ายพระลบก็เช่นกัน  ศรที่ยิงออกมาหมายสังหารพระรามก็กลับกลายเป็นข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระบิดาไปหมดเช่นกัน ตรงนี้คือความหมายเดิมของคำว่า ศรศิลป์ไม่กินกัน  คือ ไม่อาจทำร้ายหรือทำอันตรายต่อกันนั่นเอง

    กระทั่งต่อมาจนถึงปัจจุบันนี่แหละ สำนวนนี้จึงเกลื่อนกลายเป็นความหมายในเชิงไม่ถูกกันหรือไม่กินเส้นกันโดยไม่ทราบสาเหตุที่มา  ถ้าจะให้เดา ก็น่าจะมาจากการนำมาใช้สับสนปะปนกันกับคำ “ไม่กินเส้น” ซึ่งมาจากตำรานวดแผนไทย หมายถึงการนวดหรือจับเส้นที่ไม่ถูกจุดมากกว่า  สำนวน “ไม่กินเส้น”นี้ ยังวิวัฒน์ต่อมาเป็น “เกาเหลากัน” อันมีความหมายในเชิงไม่ถูกชะตากันอีกด้วย


    มองในแง่ดี  นี่อาจจะถือเป็นวิวัฒน์หรืออุบัติของภาษาไทยอีกแบบหนึ่งก็ได้  นอกเหนือไปจากภาษาเอ็มหรือภาษาในเน็ตที่มีพื้นฐานที่มาจากต้องการความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันเป็นหลัก จนกลายเป็นกระแสนิยมในเวลาต่อมา สิ่งที่จำเป็นต้องตระหนักคือ ผู้ใช้ควรยึดหลักภาษาไทยเดิม ๆ ไว้ให้ดี  ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะใช้อย่างมักง่ายจนกลายเป็นวิบัติโดยไม่จำเป็น  ลองนึกดู...ถ้าต้องเจอคนเขียนแบบนี้ถึงคุณ จะรู้สึกเหนื่อยไหม ขณะที่อ่าน...


"...พวกเราต้องการความรวดเรวมะใช่  ต้องมาพิมตงๆ เช่นจิง ๆ แร้นนู๋เบื่อมั่ก  จาหั้ยพิมว่าจริง ๆ แล้วหนูเบื่อ คนรอรับข้อความก้อรากงอกกันพอดี  แต่เวลาเราทัมอารัยเปงทางกาน  เราก้อไม่ได้ใช้พาสาแบบนี้สักหน่อย  อันนี้แค่เปงพาสาที่ใช่เร่น ๆ ก้อแค่นั้น  นู๋เปงเด็กนู๋ย่อมเข้าจัยตงนี้มากกว่าป้านะค่ะ  นู๋ไม่รุว่าพวกว่าพวกป้า ๆ คิดรัยอยู่  คนเราย่อมมีฟามเข้าจัยที่แตกต่าง   ถ้านู๋โต นู๋ก้อจามะเข้าจัยตงนี้ (เด็ก) แค่นู๋จาเข้าจัยตงนั้น(ผู้หยั่ย)..."
**ยุคสมัยมานเปลี่ยนเเปงแร้น มานมีทั้งเด็กแว้ง เด็กปื้ด เด็กแนวฯลฯ ป้าๆทังหลายก้อทัมจัยซะ มานเปงช่วงๆหนึ่งที่ชีวิตมานเปลี่ยนแปง..มานเปลี่ยนเเปง**


สาธุ...ขออย่าได้เจอแบบนี้กับตัวเองเรยยย....อ้าว..เฮ้ย! จบกัน..๕ ๕ ๕

 

สำนวน "ศรศิลป์ไม่กินกัน", "ไม่กินเส้น"
ตั้งใจไว้แต่เดิมว่า  จะปลีกวิเวกจากการเขียนอะไรต่อมิอะไรไปสักพักหนึ่ง  ด้วยรู้สึกจิตตกจากสาเหตุหลาย ๆ ประการดังที่เราท่านทั้งหลายต่างรับรู้กันดี  จนพลอยทำให้ตัวหนังสือทุกตัวที่วิ่งออกมาจากอารมณ์ ความคิดดูเหมือนเต็มไปด้วยความขุ่นมัว ติติง วิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบต่อสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ในบ้านเมืองเสียเป็นส่วนใหญ่ สุดท้ายเลยต้องแอบขอลาหยุดกับตัวเอง  เอาแต่สวมหูฟังนั่งทอดหุ่ยฟังเพลงไปเรื่อย  จนหุ่ยที่ทอดไว้ไหม้ไปหลายตลบแล้ว..อิอิ

    เอ่ยถึงคำว่า "ทอดหุ่ย" ขึ้นมา  เลยอดสงสัยไม่ได้ว่าคำ ๆ นี้ที่มาจากไหน โดยเฉพาะคำว่า “หุ่ย”มาจากอะไร  น่าแปลกที่ขนาดถามตาเกิ้ล (คนละคนกับตาเกิ้นในเรื่อง “ล่องไพร” ของ “น้อย อินทนนท์”) ก็ยังไม่ได้เรื่อง  ยังดีที่ได้พบความไม่อยู่กับร่องกับรอยของพจนานุกรมไทยที่ยังความสับสนแก่นักเรียนและประชาชนอีกครั้งในสำนวนนี้ กล่าวคือ ในความหมายเดิม (ฉบับปี ๒๔๙๓) ราชบัณฑิตท่านให้ความหมายว่า “อาการนอนอย่างอ่อนอกอ่อนใจ” พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่สบายใจนั่นแหละ  แต่พอมาถึงฉบับปี ๒๕๒๕ ความหมายกลับเปลี่ยนไปเป็น “การนอนอย่างสบายใจ ปราศจากความวิตกกังวล”....คนละขั้วไปเลย
    ตัวอย่างคล้าย ๆ กันของสำนวนไทยที่แปรเปลี่ยนความหมายไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงอีกคำหนึ่งก็คือ คำว่า "ศรศิลป์ไม่กินกัน"
คำ ๆ นี้ที่จริงเป็นคำคู่ เพราะทั้งคำว่า “ศร” และคำว่า “ศิลป์” ในสมัยก่อนต่างก็หมายถึงลูกธนูเช่นเดียวกัน สำนวนนี้มีที่มาจากวรรณคดี “รามเกียรติ์”  ซึ่งมีเค้าเรื่องคล้ายกันอยู่ถึงสองตอนด้วยกัน   ตอนหนึ่งคือศึกไมยราพณ์ เป็นตอนที่หนุมานรบกับมัจฉานุผู้เป็นลูกที่เกิดจากนางสุวรรณมัจฉา  เพียงแต่ตอนนี้ อาวุธที่ทั้งคู่ใช้ ไม่ใช่ลูกศร  ส่วนอีกตอนหนึ่งอันเป็นที่มาของสำนวนนี้โดยตรงคือ ตอนที่พระรามออกไปรบกับพระมงกุฎและพระลบผู้เป็นบุตร  โดยที่ต่างฝ่ายต่างยังไม่รู้จักกัน ปรากฏว่า ศรที่พระรามแผลงออกไปกลับกลายเป็นขนมนมเนยไปเสียหมด ขณะที่ฝ่ายพระลบก็เช่นกัน  ศรที่ยิงออกมาหมายสังหารพระรามก็กลับกลายเป็นข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระบิดาไปหมดเช่นกัน ตรงนี้คือความหมายเดิมของคำว่า ศรศิลป์ไม่กินกัน  คือ ไม่อาจทำร้ายหรือทำอันตรายต่อกันนั่นเอง

    กระทั่งต่อมาจนถึงปัจจุบันนี่แหละ สำนวนนี้จึงเกลื่อนกลายเป็นความหมายในเชิงไม่ถูกกันหรือไม่กินเส้นกันโดยไม่ทราบสาเหตุที่มา  ถ้าจะให้เดา ก็น่าจะมาจากการนำมาใช้สับสนปะปนกันกับคำ “ไม่กินเส้น” ซึ่งมาจากตำรานวดแผนไทย หมายถึงการนวดหรือจับเส้นที่ไม่ถูกจุดมากกว่า  สำนวน “ไม่กินเส้น”นี้ ยังวิวัฒน์ต่อมาเป็น “เกาเหลากัน” อันมีความหมายในเชิงไม่ถูกชะตากันอีกด้วย


    มองในแง่ดี  นี่อาจจะถือเป็นวิวัฒน์หรืออุบัติของภาษาไทยอีกแบบหนึ่งก็ได้  นอกเหนือไปจากภาษาเอ็มหรือภาษาในเน็ตที่มีพื้นฐานที่มาจากต้องการความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันเป็นหลัก จนกลายเป็นกระแสนิยมในเวลาต่อมา สิ่งที่จำเป็นต้องตระหนักคือ ผู้ใช้ควรยึดหลักภาษาไทยเดิม ๆ ไว้ให้ดี  ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะใช้อย่างมักง่ายจนกลายเป็นวิบัติโดยไม่จำเป็น  ลองนึกดู...ถ้าต้องเจอคนเขียนแบบนี้ถึงคุณ จะรู้สึกเหนื่อยไหม ขณะที่อ่าน...


"...พวกเราต้องการความรวดเรวใช่มะ  ต้องมาพิมตงๆ เช่นจิง ๆ แร้นนู๋เบื่อมั่ก  จาหั้ยพิมว่าจริง ๆ แล้วหนูเบื่อ คนรอรับข้อความก้อรากงอกกันพอดี  แต่เวลาเราทัมอารัยเปงทางกาน  เราก้อไม่ได้ใช้พาสาแบบนี้สักหน่อย  อันนี้แค่เปงพาสาที่ใช่เร่น ๆ ก้อแค่นั้น  นู๋เปงเด็กนู๋ย่อมเข้าจัยตงนี้มากกว่าป้านะค่ะ  นู๋ไม่รุว่าพวกว่าพวกป้า ๆ คิดรัยอยู่  คนเราย่อมมีฟามเข้าจัยที่แตกต่าง   ถ้านู๋โต นู๋ก้อจามะเข้าจัยตงนี้ (เด็ก) แค่นู๋จาเข้าจัยตงนั้น(ผู้หยั่ย)..."
**ยุคสมัยมานเปลี่ยนเเปงแร้น มานมีทั้งเด็กแว้ง เด็กปื้ด เด็กแนวฯลฯ ป้าๆทังหลายก้อทัมจัยซะ มานเปงช่วงๆหนึ่งที่ชีวิตมานเปลี่ยนแปง..มานเปลี่ยนเเปง**


สาธุ...ขออย่าได้เจอแบบนี้กับตัวเองเรยยย....อ้าว..เฮ้ย! จบกัน..๕ ๕ ๕

 

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทกวี >> ด้วยรัก....ที่รานร้าว


เอามีดมากรีดน้ำ
แล้วก็ย่ำย้ำรอยเก่า
มีแผลก็แค่เกา
สร้างบทนำคือจำยอม….

เหมือนละครน้ำครำดูซ้ำซาก
เห็นแต่ฉากรวยรูปจูบไม่หอม
วาทศิลป์กล่อมเกลี้ยงเผดียงดอม
หวังเพียงน้อมผู้คนให้ทนดู

จะปรองดองต้องปองดีเป็นที่ตั้ง
เพราะเสียงสั่งของหัวใจให้อดสู
ต่อความหมายพ่ายพับที่รับรู้
หรือตัวกูพวกกูอยู่ต่อไป

เชื่อมั่นประเทศไทย...ให้ใครเชื่อ
ถ้าตัวเองไม่เหลือความยิ่งใหญ่
ยอมระย่อต่อระยำที่ตำใจ
หวังเพียงขั้นบันไดของตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เพลง [s] ดิน...น้ำ...ลม...ไฟ.

ดิน น้ำ ลม ไฟ     รินน้ำใจให้คน

โค้งฟ้า ขุนเขา ทะเลไกล        โชนไฟดวงตะวัน
สายน้ำซัดเซาะดิน            ลมเย็นพัดแผ่ว
ลึกลึก สูงสูง ล้อมเป็นแนว        รวมกันเป็นหนึ่งเดียว
กอดเกี่ยวเกิดพลังแห่งดินฟ้า
 
    ลำธารไหลริน        แผ่นดินเย็นชื่นฉ่ำ
        กลายเป็นไม้งาม    ชีวิตงอกเงย
            ตะวันทอแสงสาด    ลมพัดรำเพย
                เป็นเนืองนิตย์        อุทิศให้คน...
 
        ดิน น้ำ ลม ไฟ     รินน้ำใจให้คน
        ดิน น้ำ ลม ไฟ    จะมีใครทดแทน
 
โค้งฟ้า ขุนเขา ทะเลไกล        ใครมีใจอย่างเธอ
เขาคิดร้ายคิดดี            เธอก็มีรักตอบ
คึกคัก ครึกครื้น ทุกคืนวัน        ยืนยันแรงศรัทธา
สืบกฎธรรมดาแห่งชีวิต... 

ดิน น้ำ ลม ไฟ     รินน้ำใจให้คน
        ดิน น้ำ ลม ไฟ    จะมีใครทดแทน
        ดิน น้ำ ลม ไฟ     มีรักจริงยิ่งใหญ่
        ดิน น้ำ ลม ไฟ    จะมีใครเหมือนเธอ...

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บทกวี >> เขาใหญ่...ในห้วงสนธยา


แผ่นดินนี้พอเพียงเลี้ยงคนขาด แต่ไม่อาจอุ้มโอบคนโลภได้

ซึ่งได้เป็นความหลังแล้วทั้งสิ้น
คือความรัก แรงถวิลและห่วงหา
ไม่มีแล้วดอกไม้ในแววตา
เหลือเพียงแค่ราคาระหว่างคน

ลมร้อนอ้าวร้าวระรุมขึ้นสุมฟ้า
อวิชชาเสียดแทงทุกแห่งหน
ผืนแผ่นดินโฉ่ฉาวด้วยคาวคน
ทรชนยืดร่างอย่างผู้ดี

ปัญญานำพาคนให้พ้นทุกข์
แต่ถึงคราวทุรยุคบดขยี้
คุณธรรมคุณระยำสองคำนี้
เหมือนไม่มีความหมายแตกต่างกัน

เราจะไปไหนกันในวันพรุ่ง
เมื่อทุกคนต่างมุ่งขยายฝัน
จนมองข้ามทุกข์ทนของชนชั้น
ผู้เหลือสิทธิ์แบ่งปันแค่ฝันร้าย

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บทกวี >> ประเทศไทยต้องไม่แพ้...??


ภาพวันนั้น...มันหายไปไหน

ภาพวันนั้น...มันหายไปไหน
รอยยิ้มจริงใจเกลื่อนใบหน้า
เด็กน้อยจูงมือมารดา
พ่อค้าแม่ขายรายทาง

เมืองแก้วร้างแก้วแล้ววันนี้
คลื่นคนขวัญหนีอยู่ไม่สร่าง
กัมปนาทเสียงปืนครืนคราง
ผนึกความอ้างว้างแก่ผู้คน

นี่คือเมืองพระ...เมืองพุทธ
ที่มนุษย์ฆ่ามนุษย์ทุกแห่งหน
และไม่ใช่สงครามประชาชน
แต่เป็นแค่เหตุผล...คนอยากทราม

กับสังคมเน่าเน่าสังคมนี้
เหมือนไม่มีคำตอบทุกคำถาม
มีแต่ “เงิน”และ “งก” คือความงาม
ให้ติดตามตาเห็นไม่เว้นวาย

แล้วจะมีหวังใดให้ได้หวัง
ในเมื่อพลังขับเคลื่อนต่างสูญหาย
เกลื่อนเจ้าที่เจ้าทางไร้ยางอาย
พร้อมส่งผ่านความหมายตายทั้งเป็น

มืดกว่าคืนเดือนมืด...มืดสนิท
ทุกชีวิตเหยาะย่างกลางของเหม็น
ไร้สัญญาณการเยือนของเดือนเพ็ญ
นอกจากหนาวเยียบเย็นและอ่อนล้า

วันนี้...พรุ่งนี้...หรือพรุ่งไหน
จึงไทยคือไทยได้สมค่า
มิใช่เมืองยิ้มคือมายา
กับคาถา..ประเทศไทยต้องไม่แพ้.




เกร็ดภาษาไทย ⏰ นับเวลาแบบไทย...ทุ่ม..โมง..ยาม

ตำนานเวลา

หยุดเขียนไปหลายวันเพราะหดหู่เศร้าใจกับความเป็นไปของสถานการณ์บ้านเมืองจนหมดสิ้นเรี่ยวแรง  วันนี้เลยขอต่อเรื่องการนับเวลาแบบไทย ๆ ที่เขียนค้างไว้ให้จบ....

คติไทยสมัยก่อน (หรืออาจจะรวมถึงสมัยนี้ด้วย) นิยมอะไรที่ “ง่ายไว้ก่อน พ่อสอนไว้” จนดูเหมือนจะกลายเป็นค่านิยมทางวัฒนธรรมแบบหนึ่งของไทยเราไปแล้ว แม้แต่ภาษาไทยของเราเองก็ดูจะไม่เว้นเช่นกัน เพราะนับตั้งแต่สมัยแรกกำเนิดภาษาไทยก็นิยมใช้คำโดดหรือคำที่ออกเสียงพยางค์เดียวในการสื่อความหมายอยู่แล้วเช่น  ฉัน,รัก, แม่...ฯลฯ

จนกระทั่งต่อมาระยะหลังนั่นแหละ ถึงเริ่มมีการใช้คำควบหรือคำประสมตามอิทธิพลที่ได้รับมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตรวมทั้งภาษาในตระกูลมอญ-เขมรเพิ่มเติมเข้ามา

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะกำหนดนับเวลาตามสิ่งที่เห็นและรู้สึกได้ในชีวิตประจำวัน  อย่างเช่นคำว่า “โมง” และ “ทุ่ม”อันเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกเวลาช่วงกลางวันและกลางคืน  ก็มาจากเสียงย่ำฆ้องและกลองที่ทางวัดใช้ตีบอกเวลาในแต่ละชั่วโมงของวันนั่นเอง เนื่องจากสมัยก่อนนาฬิกามักมีใช้เฉพาะภายในวัดเท่านั้น  ชาวบ้านจึงต้องอาศัยเสียงสัญญาณกลองและฆ้องที่ดังมาจากวัดเป็นหลัก  บ้างที่อยู่ห่างไกลออกไปจนไม่ได้ยินแม้แต่เสียงย่ำกลองก็ต้องใช้วิธีฟังเสียงปืนใหญ่ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดฯให้ทหารเรือยิงปืนใหญ่ประจำเรือทุก ๆ เที่ยงวันเพื่อประชาชนและบรรดาพ่อค้าวานิชจะได้ใช้เทียบเวลาประจำวัน  นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไกลปืนเที่ยง” ซึ่งหมายพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ  และยังเป็นที่มาของการกำหนดให้กองทัพเรือเป็นผู้รักษาเว
ลามาตรฐานของประเทศอีกด้วย


กังวานดัง “โหม่ง” แรกของวัน เริ่มจากเสียงฆ้องที่ตีบอกเวลาตั้งแต่ ๗ นาฬิกาจนถึงเพลหรือ ๑๑ นาฬิกาอันเป็นเวลาที่พระฉันอาหารนับไล่เรียงมาตั้งแต่ฟ้าสว่างหรือย่ำรุ่ง (๖ นาฬิกา) เป็นหนึ่ง..สอง...สาม..สี่..และห้าโมงเช้าหรือเพลตามลำดับ (ต่างจากประเพณีสากลที่เริ่มนับหนึ่งกันตั้งแต่ผ่านพ้นชั่วโมงแรกหลังเที่ยงคืนเลยทีเดียว)  พอผ่านเที่ยงวันก็เริ่มนับใหม่เป็นช่วงบ่ายโมง..บ่ายสอง..สาม..สี่..และห้าเช่นเดียวกัน  ก่อนผ่านไปยังย่ำค่ำ (๑๘ นาฬิกาหรือหกโมงเย็น)  หลังจากนั้น สัญญาณก็จะเปลี่ยนไปจากการใช้ฆ้องมาเป็นกลองดังตุ้ม..ตุ้ม ตั้งแต่ตุ้มเดียวหรือหนึ่งทุ่มไปจนถึงห้าตุ้มหรือห้าทุ่ม  ก่อนถึงเที่ยงคืนหรือหกทุ่มหรือที่นิยมเรียกกันว่า “สองยาม”ในอีกหนึ่งชั่วโมงต่อมา..

คำว่า "ยาม" ที่จริงก็มาจากกำหนดการเข้าเวรยามของทหารยามรักษาการภายในพระราชวังนั่นเอง  ในสมัยก่อน การผลัดเวรยามของทหาร ช่วงกลางวันจะแบ่งเป็น ๒ ผลัด ผลัดละ ๖ ชั่วโมงตั้งแต่ย่ำรุ่งจนถึงย่ำค่ำ  หลังจากนั้นจึงถึงเวรของยามผลัดกลางคืนซึ่งแบ่งตามคาบเวลาเป็นช่วง ๆ ละ ๓ ชั่วโมงเริ่มตั้งแต่ย่ำค่ำหรือหกโมงเย็นถือเป็นยามต้นจนถึงสามทุ่ม..ยาม ๒ ตั้งแต่สามทุ่มถึงเที่ยงคืนหรือสองยาม ต่อด้วยยาม ๓ (เที่ยงคืน-ตีสาม) และยาม ๔ (ตีสาม – ย่ำรุ่งหรือหกโมงเช้า) ตามลำดับ

การนับยามแบบนี้มีข้อสังเกตเล็กน้อยสำหรับคนที่เคยผ่านตานิยายกำลังภายในหรือพงศาวดารจีนมา คือข้อแตกต่างตรงที่จีนนับยามเป็นคาบเวลาเพียงช่วงละ ๒ ชั่วโมง  ขณะที่ไทยเราถือ ๓ ชั่วโมงเป็นหลัก

ช่วงพลบค่ำหรือย่างเข้าสู่ช่วงกลางคืน ตามวัดวาอารามสมัยก่อนมักย่ำกลองอันหมายถึงการกระหน่ำตีซ้ำ ๆ เป็นสัญญาณบอกว่าสนธยาหรือรัตติกาลกำลังเริ่มขึ้น จนกลายเป็นที่มาของคำว่า “ย่ำค่ำ” และเลยไปถึงคำว่า “ย่ำรุ่ง” เพื่อให้รับกันในช่วงเช้าด้วย แม้ในช่วงเวลานี้ จะไม่มีการ“ย่ำ” ฆ้องหรือกลองแต่ประการใด

ตลอดช่วงกลางคืนหลังพลบค่ำ  แทนการใช้สัญญาณฆ้องหรือกลองเป็นเครื่องบอกเวลาอย่างตอนกลางวัน  เขานิยมใช้วิธีเคาะแผ่นเหล็กเมื่อครบแต่ละชั่วโมงแทน  เนื่องจากเสียงไม่ดังมากนักจนถึงกับรบกวนการนอนหรือการพักผ่อนของผู้คน โดยมักจะเริ่มการตีตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป จึงนิยมเรียกกันในภายหลังว่า ตีหนึ่ง..ตีสอง..ตีสาม..เรื่อยมา

อรรถาธิบายเรื่อง ทุ่ม, โมง, ยาม, ย่ำ, ตี  ก็คงเอวังได้ด้วยประการฉะนี้....   



https://planetpt.blogspot.com/search/label/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%20%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บทกวี >> ฤาสยามไร้ผู้รู้หน้าที่



คือความวิปโยคโศกสมัย ประกาศความป่วยไข้ไปทุกแห่ง

คือความวิปโยคโศกสมัย
ประกาศความป่วยไข้ไปทุกแห่ง
เมื่อธรรมะใสพิสุทธิ์หยุดแสดง
ปล่อยกาลีแก่งแย่งสำแดงตน

หรือคนกล้า คนดีไม่มีแล้ว
เหลือแต่กาตาแววผู้สับสน
บริกรรมพร่ำคาถาว่าอดทน
ให้ปวงชนสิ้นหวังทุกครั้งครา

หรือคนดีอยู่ไม่ได้ในเมืองนี้
โลกไม่มีหลักประกันให้คนกล้า
หรือสิ้นสุดกระแสยุติธรรมา
ความชั่วช้าสามานย์จึงพล่านนัก

ปล่อยอัปรีย์ผีร้ายสยายร่าง
เกลื่อนกร่างตำใจให้ติดปลัก
เพื่อนไทยพาไทยให้แล้งรัก
แจ้งประจักษ์เต็มตาก็ครานี้

วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553

เกร็ดภาษาไทย ⏳ เวลาที่ผ่านเลย..คำว่า นาฬิกามาจากไหน

ตำนานเวลา

หยุดเขียนไปหลายวันเพราะหดหู่เศร้าใจกับความเป็นไปของสถานการณ์บ้านเมืองจนหมดสิ้นเรี่ยวแรง วันนี้เลยขอต่อเรื่องการนับเวลาแบบไทย ๆ ที่เขียนค้างไว้ให้จบ....

คติไทยสมัยก่อน (หรืออาจจะรวมถึงสมัยนี้ด้วย) นิยมอะไรที่ “ง่ายไว้ก่อน พ่อสอนไว้” จนดูเหมือนจะกลายเป็นค่านิยมทางวัฒนธรรมแบบหนึ่งของไทยเราไปแล้ว แม้แต่ภาษาไทยของเราเองก็ดูจะไม่เว้นเช่นกัน เพราะนับตั้งแต่สมัยแรกกำเนิดภาษาไทยก็นิยมใช้คำโดดหรือคำที่ออกเสียงพยางค์เดียวในการสื่อความหมายอยู่แล้วเช่น ฉัน,รัก, แม่...ฯล.

จนกระทั่งต่อมาระยะหลังนั่นแหละ ถึงเริ่มมีการใช้คำควบหรือคำประสมตามอิทธิพลที่ได้รับมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตรวมทั้งภาษาในตระกูลมอญ-เขมรเพิ่มเติมเข้ามา

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะกำหนดนับเวลาตามสิ่งที่เห็นและรู้สึกได้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นคำว่า “โมง” และ “ทุ่ม”อันเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกเวลาช่วงกลางวันและกลางคืน ก็มาจากเสียงย่ำฆ้องและกลองที่ทางวัดใช้ตีบอกเวลาในแต่ละชั่วโมงของวันนั่นเอง เนื่องจากสมัยก่อนนาฬิกามักมีใช้เฉพาะภายในวัดเท่านั้น ชาวบ้านจึงต้องอาศัยเสียงสัญญาณกลองและฆ้องที่ดังมาจากวัดเป็นหลัก บ้างที่อยู่ห่างไกลออกไปจนไม่ได้ยินแม้แต่เสียงย่ำกลองก็ต้องใช้วิธีฟังเสียงปืนใหญ่ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดฯให้ทหารเรือยิงปืนใหญ่ประจำเรือทุก ๆ เที่ยงวันเพื่อประชาชนและบรรดาพ่อค้าวานิชจะได้ใช้เทียบเวลาประจำวัน นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไกลปืนเที่ยง” ซึ่งหมายพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ และยังเป็นที่มาของการกำหนดให้กองทัพเรือเป็นผู้รักษาเว
ลามาตรฐานของประเทศอีกด้วย


กังวานดัง “โหม่ง” แรกของวัน เริ่มจากเสียงฆ้องที่ตีบอกเวลาตั้งแต่ ๗ นาฬิกาจนถึงเพลหรือ ๑๑ นาฬิกาอันเป็นเวลาที่พระฉันอาหารนับไล่เรียงมาตั้งแต่ฟ้าสว่างหรือย่ำรุ่ง (๖ นาฬิกา) เป็นหนึ่ง..สอง...สาม..สี่..และห้าโมงเช้าหรือเพลตามลำดับ (ต่างจากประเพณีสากลที่เริ่มนับหนึ่งกันตั้งแต่ผ่านพ้นชั่วโมงแรกหลังเที่ยงคืนเลยทีเดียว) พอผ่านเที่ยงวันก็เริ่มนับใหม่เป็นช่วงบ่ายโมง..บ่ายสอง..สาม..สี่..และห้าเช่นเดียวกัน ก่อนผ่านไปยังย่ำค่ำ (๑๘ นาฬิกาหรือหกโมงเย็น) หลังจากนั้น สัญญาณก็จะเปลี่ยนไปจากการใช้ฆ้องมาเป็นกลองดังตุ้ม..ตุ้ม ตั้งแต่ตุ้มเดียวหรือหนึ่งทุ่มไปจนถึงห้าตุ้มหรือห้าทุ่ม ก่อนถึงเที่ยงคืนหรือหกทุ่มหรือที่นิยมเรียกกันว่า “สองยาม”ในอีกหนึ่งชั่วโมงต่อมา..

คำว่า "ยาม" ที่จริงก็มาจากกำหนดการเข้าเวรยามของทหารยามรักษาการภายในพระราชวังนั่นเอง ในสมัยก่อน การผลัดเวรยามของทหาร ช่วงกลางวันจะแบ่งเป็น ๒ ผลัด ผลัดละ ๖ ชั่วโมงตั้งแต่ย่ำรุ่งจนถึงย่ำค่ำ หลังจากนั้นจึงถึงเวรของยามผลัดกลางคืนซึ่งแบ่งตามคาบเวลาเป็นช่วง ๆ ละ ๓ ชั่วโมงเริ่มตั้งแต่ย่ำค่ำหรือหกโมงเย็นถือเป็นยามต้นจนถึงสามทุ่ม..ยาม ๒ ตั้งแต่สามทุ่มถึงเที่ยงคืนหรือสองยาม ต่อด้วยยาม ๓ (เที่ยงคืน-ตีสาม) และยาม ๔ (ตีสาม – ย่ำรุ่งหรือหกโมงเช้า) ตามลำดับ

การนับยามแบบนี้มีข้อสังเกตเล็กน้อยสำหรับคนที่เคยผ่านตานิยายกำลังภายในหรือพงศาวดารจีนมา คือข้อแตกต่างตรงที่จีนนับยามเป็นคาบเวลาเพียงช่วงละ ๒ ชั่วโมง ขณะที่ไทยเราถือ ๓ ชั่วโมงเป็นหลัก

ช่วงพลบค่ำหรือย่างเข้าสู่ช่วงกลางคืน ตามวัดวาอารามสมัยก่อนมักย่ำกลองอันหมายถึงการกระหน่ำตีซ้ำ ๆ เป็นสัญญาณบอกว่าสนธยาหรือรัตติกาลกำลังเริ่มขึ้น จนกลายเป็นที่มาของคำว่า “ย่ำค่ำ” และเลยไปถึงคำว่า “ย่ำรุ่ง” เพื่อให้รับกันในช่วงเช้าด้วย แม้ในช่วงเวลานี้ จะไม่มีการ“ย่ำ” ฆ้องหรือกลองแต่ประการใด

ตลอดช่วงกลางคืนหลังพลบค่ำ แทนการใช้สัญญาณฆ้องหรือกลองเป็นเครื่องบอกเวลาอย่างตอนกลางวัน เขานิยมใช้วิธีเคาะแผ่นเหล็กเมื่อครบแต่ละชั่วโมงแทน เนื่องจากเสียงไม่ดังมากนักจนถึงกับรบกวนการนอนหรือการพักผ่อนของผู้คน โดยมักจะเริ่มการตีตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป จึงนิยมเรียกกันในภายหลังว่า ตีหนึ่ง..ตีสอง..ตีสาม..เรื่อยมา

อรรถาธิบายเรื่อง ทุ่ม, โมง, ยาม, ย่ำ, ตี ก็คงเอวังได้ด้วยประการฉะนี้....


https://planetpt.blogspot.com/search/label/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%20%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B9%87%E0%B8%99

โพสต์แนะนำ

สาระนิทาน ชุด ไม้ไทยใจดี 🍽 เรื่อง "ข.ข้าว ขาว ขาว"

เขียวเอย...เขียวพรมผืนใหญ่ ใครมาถักทอไว้ แลไกลสุดตา  เจียวเอย... ตัวฉันนั่นไง  ใบ ข้าว เขียวเขียว ยืนต้นเดี่ยวเดี่ยว  ร...