มีหลักจำเป็นรูปประโยคง่าย ๆ ดังนี้
๑. คำเป็น..
คุณตาขายาว เคยนั่งหาวชิมลำไยผลโต
หมายถึง พยางค์ที่ประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก.กา
(กา กง กน กม เกอย เกอว)
รวมทั้งสระเสียงสั้น อำ ไอ ใอ เอา
ด้วยเพราะถือว่าออกสำเนียงที่มีตัว ม ย ว กำกับอยู่
๒. คำตาย..
เพราะจิตคิดคด ชอบพูดปดนัก
หมายถึง พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก.กา รวมทั้งตัวสะกด กก กบ กด หรือ
จำง่าย ๆ ว่า “กบฏ”
๓. ไตรยางศ์ หรืออักษรสามหมู่..
หมู่ที่ ๑ อักษรสูง มีอยู่ ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
ฃวดของฉันถูกเศรษฐี ฝังผิดสีผิดไห
หมู่ที่ ๒ อักษรกลาง มีอยู่ ๙ ตัว คือ ก จ (ฎ ฏ) ด ต บ ป อ
ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง (โหดจัง แต่จำง่ายดี !)
หมู่ที่ ๓ อักษรต่ำ มีอยู่ ๒๔ ตัว (ก็ที่เหลือจากอักษรไทย ๔๔ ตัวนั่นแหละจ้ะ)
แล้วทำไมต้องแบ่งเป็น ๓ หมู่ ไว้คราวหน้าค่อยมาว่ากันต่อ...
ไหน ๆ ก็ให้หลักจำคำไทยสำคัญ ๆ กันไปแล้ว จบตอนด้วยบทว่าด้วยการใช้ไม้ม้วน
แถมไปด้วยเลยน่าจะดี
ท่านเขียนเป็นกาพย์ยานี ไว้ให้จำง่าย ๆ ดังนี้...
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง