ไม่เชื่อก็ลองอ่านหนึ่งในสุดยอดวรรณคดีไทยแห่งยุครัตนโกสินทร์ที่ชื่อ “สามัคคีเภทคำฉันท์” ของท่าน “ชิต บุรทัต” ท่อนนี้ดูซีครับ....
๏ เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน
ก็มาเป็น
ก็มาเป็น
๏ ศึกบถึงและมึงก็ยังมิเห็น จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น
ประการใด
๏ อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ ขยาดขยั้นมิทันอะไร
ก็หมิ่นกู
๏ กลกากะหวาดขมังธนู บห่อนจะเห็นธวัชริปู
สิล่าถอย…ฯลฯ
ลองอ่านออกเสียงดัง ๆ ดูสิ พยายามจับจังหวะและนำหนักของเสียงที่เปล่งออกมา เราอาจสัมผัสได้ถึงสื่ออารมณ์ของผู้พูดที่บริภาษออกมาด้วยความรู้สึกโกรธเกรี้ยวระคนผิดหวังรุนแรง ได้อย่างบาดลึกลงไปในจิตใจของคนฟังเลยทีเดียว...
อีกตอนหนึ่ง....
๐ บงเนื้อก็เนื้อเต้น
พิศเส้นสรีร์รัว
ทั่วร่างและทั้งตัว
ก็ระริกระริวไหว
๐ แลหลังละลามโล
หิตโอ้เลอะหลั่งไป
เพ่งผาดอนาถใจ
ระกะร่อยเพราะรอยหวาย…ฯลฯ
ท่อนแรกประพันธ์ในรูปอีทิสฉันท์หรือ อีทิสังฉันท์ ๒๐ ส่วนท่อนหลังคือ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แต่ทั้งสองท่อน ต่างเต็มเปี่ยมไปด้วยความงามแห่งภาษาศิลป์ที่สะท้านสะเทือนอารมณ์ได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย..