-->

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

นิทานรักษ์โลก 🐠 เรื่อง "ปลาสาวเจ้าปัญญา"

นิทาน (๑) ปลาสาวเจ้าปัญญาบึงเล็ก ๆ ริมทุ่งนาแห่งหนึ่งมีน้ำใสสะอาด ดอกบัวหลากสีบานสะพรั่งทั่วผืน
น้ำ สลับกับหมู่ไม้น้ำที่ขึ้นกระจายกันเป็นหย่อม ๆ ลึกลงไปมีสาหร่ายสีเขียว
เป็นริ้วระลอกอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งพักพิงของฝูงปลาและเหล่าสัตว์น้ำได้
อาศัยอยู่อย่างมีความสุข โดยมีตะพาบน้ำชราตัวหนึ่งคอยดูแลบึงเล็ก ๆ
แห่งนี้ให้มีความสงบสุขตลอดมา

นิทาน (๑) ปลาสาวเจ้าปัญญา วันหนึ่ง ขณะที่ปลาสาวตัวหนึ่งกำลังว่ายน้ำเล่นอย่างเพลิดเพลิน เธอก็เหลือบไปเห็นกบตัวหนึ่งกระโดดผ่านหน้าไป
“อ้าว คุณกบ จะไปไหนน่ะ” ปลาสาวร้องทัก
“ก็ว่าจะขึ้นไปหาแมลงที่ชอบมากินใบข้าวในนาฟากโน้นนั่นแหละ
จะเอาบ้างไหมล่ะ ขากลับจะได้เอามาฝาก” กบร้องตอบ

“ไม่ละจ้ะ ขอบใจ ว่าแต่ทำไมต้องไปไกลนักล่ะ แถวนี้ก็มีนี่นา วันก่อนพ่อเขียดเขายังบอกเลยว่าเขาพบแมลงนอนเกลื่อนอยู่แถวโน้นตั้งเยอะแยะ ฉันยังนึกว่าสบายไปแล้วเสียอีกที่หาอาหารได้ง่าย ๆ “
“ฮื่ย..ย..แมลงพวกนั้นกินได้เสียที่ไหนกันล่ะ ตัวแข็งยังไงพิกล เผลอกินเข้าไปทีเป็นคลื่นไส้ทุกที
ฉันไม่เอาด้วยหรอก แหวะ..”
“ฮื่ย..ย..แมลงพวกนั้นกินได้เสียที่ไหนกันล่ะ ตัวแข็งยังไงพิกล เผลอกินเข้าไปทีเป็นคลื่นไส้ทุกที"กบทำท่าหวาดเสียว
“ตายจริง” ตะเพียนสาวอุทาน “ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ”
“ก็ไม่รู้เหมือนกันแหละ รู้แต่ว่าเดี๋ยวนี้ ฉันจะไม่ยอมกินแมลงที่ตายแล้วเป็นอันขาด เฮ้อ..แย่จริง ไอ้ตัวเป็น ๆ ก็หายากเหลือเกิน ไปไหนกันหมดก็ไม่รู้” กบบ่นพึมพำก่อนกระโดดหยอย ๆ จากไป
ด้วยความเป็นปลาช่างคิด เธออดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมแมลงที่ตายแล้วถึงกินไม่ได้
“นี่ถ้าขึ้นไปบนบกได้อย่างกบก็ดีสินะ” เธอคิด “เผื่อจะได้รู้บ้างว่าเกิดอะไรขึ้น”
วันรุ่งขึ้น ปลาสาวว่ายน้ำเล่นอยู่ริมบึงเช่นเคย ขณะนั้นเอง เธอก็เห็นปูนาตัวหนึ่งเดินผ่านมาท่าทางดูแปลกไปจนอดไม่ได้ที่จะร้องถาม “สวัสดีจ้ะ ปูนา เป็นอะไรหรือเปล่า ดูเธอเดินไม่ค่อยไหวเลยนี่”
“อือ..ม์ มันเพลีย ๆ ยังไงก็ไม่รู้ หมู่นี้ ไม่ค่อยสบายอยู่เรื่อยเลย”
“ไปทำอะไรมาล่ะ” ปลาสาวซัก
“ก็ไม่เห็นได้ทำอะไรเลยนี่ ฉันก็ไปกัดกินต้นข้าวในนาตามปกตินั่นแหละ เอ๊ะ! รึว่าต้นข้าว ใช่แล้ว..
สงสัยต้องเป็นต้นข้าวแน่ ๆ เลยที่ทำให้ฉันปวดหัว โอย..ตายละ ทีนี้จะทำยังไงดีล่ะ ถ้าเกิดต้นข้าวเกิดกินไม่ได้ขี้นมาจริง ๆ “ ปูนาตีโพยตีพาย
ตะเพียนสาวโบกหางไปมาอย่างใช้ความคิด เธอชักเอะใจขึ้นมาแล้วว่า ท้องนารอบ ๆ บึงแห่งนี้มีอะไรบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อตัวเธอและเพื่อน ๆ เธอไม่รู้หรอกว่าแท้ที่จริงแล้ว


พวกชาวนานั่นเองที่เป็นต้นเหตุ พวกเขาอยากให้ข้าวโตเร็ว ๆ อยากได้ข้าวมาก ๆ เลยเอายาฆ่าแมลงมาฉีดใส่ต้นข้าว เอาปุ๋ยเคมีพวกชาวนานั่นเองที่เป็นต้นเหตุ พวกเขาอยากให้ข้าวโตเร็ว ๆ อยากได้ข้าวมาก ๆ เลยเอายาฆ่าแมลงมาฉีดใส่ต้นข้าว เอาปุ๋ยเคมี
มาใส่ในนาจำนวนมาก จนทำให้พวกหนอน พวกแมลงตายเกลื่อน โดยที่พวกชาวนาเองก็ไม่รู้ว่าพิษภัยของมันได้ทำให้สัตว์อื่นที่อยู่ใกล้ ๆ แถวนั้น พลอยได้รับอันตรายไปตาม ๆ กัน...
“โอย..อูย...โอย...โอย..” ปลาสาวสะดุ้งคืนจากความคิด เมื่อได้ยินเสียงร้องดังมาไม่ไกลนัก เธอรีบว่ายน้ำไปดูก็พบแม่เตาดำตัวหนึ่งกำลังนอนร้องโอดโอยอยู่ที่ริมตลิ่งแม่เตาดำตัวหนึ่งกำลังนอนร้องโอดโอยอยู่ที่ริมตลิ่ง มีสัตว์น้ำหลายตัวมุงอยู่กันเต็ม
“เกิดอะไรขึ้นน่ะ แม่เต่าดำเป็นอะไรไปหรือ” ปลาสาวร้องถามแมลงดานาที่อยู่
ใกล้ ๆ
“ฉันก็ยังไม่รู้เหมือนกัน ได้ยินว่าเขาไปกินผักบุ้งตรงปลายนาโน่น แล้วก็เกิดปวดท้องจนทนไม่ไหว เดี๋ยวหมอกุ้งก็คงมาแล้วละ พ่อกระดี่เขากำลังไปตามอยู่ โน่นไง มาโน่นแล้ว ปู่ตะพาบก็มาด้วย ไปดูกันเถอะ” แมลงดานาชักชวนปลาสาว
“เอาละ หลาน ๆ ฟังทางนี้” ตะพาบชราร้องเรียกสัตว์ทุกตัวที่อยู่บริเวณนั้น หลังจากเข้าไปดูหมอกุ้งรักษาพยาบาลแม่เต่าดำจนเสร็จ
“พวกเราคงรู้กันบ้างแล้วว่า บึงน้ำของเรากำลังจะไม่ใช่ที่อยู่อันสงบสุขของพวกเราอีกต่อไปแล้ว
หลายวันมานี้ พวกเราบางตัวไม่สบาย บางตัวถึงตายไปแล้วก็มี ปู่และหมอกุ้งได้ปรึกษากันมาหลายวันแล้ว  ได้ความว่าพวกมนุษย์ที่ทำนานั่นเองที่สร้างปัญหา...
“เขาทำอะไรพวกเราน่ะ แล้วพวกเราจะต้องตายกันหมดไหม” หลายส่งเสียงจ้อกแจ้กระงมไปหมด

“เดี๋ยว..เดี๋ยว เงียบ ๆ กันหน่อย” ปู่และหมอกุ้งได้ปรึกษากันมาหลายวันแล้ว  ได้ความว่าพวกมนุษย์ที่ทำนานั่นเองที่สร้างปัญหา...ปู่ตะพาบทำสัญญาณปราม
“ปู่ว่าที่จริงพวกมนุษย์เขาก็คงไม่ได้มีเจตนาทำร้ายพวกเราให้ตายหรอก เพียงแต่เขาอาจไม่ทันได้คิดอะไร นอกจากอยากให้ต้นข้าวของพวกเขาโตเร็ว ๆ เลยใส่สิ่งที่เรียกว่า “ยาปราบศัตรูพืช” ลงไปเพื่อป้องกันแมลงไม่ให้ไปรบกวนต้นข้าวของเขา ทีนี้ เมื่อใส่มาก ๆ เข้า มันก็เลยทำให้สัตว์อื่น ๆ พลอยไม่สบายไปด้วย โดยเฉพาะพวกที่ชอบกินแมลงเป็นอาหารอย่างนก กบ เขียดรวมทั้งปลาบางชนิด สัตว์อื่น ๆ พลอยไม่สบายไปด้วย โดยเฉพาะพวกที่ชอบกินแมลงเป็นอาหาร ตอนนี้ ทุ่งนารอบ ๆ บึงของเรามียาพวกนี้เต็มไปหมด อีกหน่อยก็คงลงมาในน้ำ ทีนี้ละ พวกเราทุกตัวก็คงหนีไม่พ้น ต้องตายกันหมดแน่ ๆ ถึงดอกบัวในน้ำก็ถอะ คงต้องเฉาตายเหมือนกัน” ตะพาบชรามองสัตว์ทุกตัวด้วยความสงสาร

ที่เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้น ก็เพราะพวกมนุษย์เขาอาจไม่รู้ก็ได้ว่า ได้ทำอะไรลงไป
“ตายละ แล้วทีนี้พวกเราจะทำยังไงกันดีล่ะ ปู่” สัตว์ตัวหนึ่งถามขึ้น
“ปู่ก็ไม่รู้เหมือนกันแหละ หลานเอ๊ย” ปู่ตะพาบตอบ “เราไม่มีทางทำอะไรได้หรอก นอกจากพวก
มนุษย์เขาจะเห็นใจเรา ไม่ปล่อยสิ่งมีพิษลงมาในน้ำอีก”
“ใช่แล้วละ นึกออกแล้ว” ปลาสาวร้องขึ้นอย่างดีใจ “บางที ที่เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้น ก็เพราะพวกมนุษย์เขาอาจไม่รู้ก็ได้ว่า ได้ทำอะไรลงไป.. ถ้างั้น เราก็หาทางบอกพวกเขาสิ ปู่ ทำอะไรสักอย่างให้เขารู้ให้ได้..”
“จริงซี” ปู่ตะพาบคล้อยตาม “แต่เราจะบอกเขาได้ยังไงล่ะ ไม่มีใครพูดภาษาคนได้นี่”
“เอาอย่างนี้สิ” เธอเอียงตัวเข้าไปซุบซิบบอกแผนการให้ปู่ตะพาบฟัง
รุ่งขึ้น เมื่อชาวนามาถึงทุ่งนาก็ต้องรู้สึกประหลาดใจ เมื่อเห็นสัตว์เล็ก ๆ นอนตายเกลื่อน

รุ่งขึ้น เมื่อชาวนามาถึงทุ่งนาก็ต้องรู้สึกประหลาดใจ เมื่อเห็นสัตว์เล็ก ๆ นอนตายเกลื่อน ปลาสาวเจ้าความคิดนั่นเองที่บอกให้เพื่อน ๆ ของเธอช่วยกันกระจายข่าวสารพิษในนาข้าวที่ชาวนาเอามาใส่ไว้ให้เพื่อนสัตว์ที่อาศัยตามท้องนารับรู้ และให้ช่วยกันแกล้งทำเป็นนอนตายให้ชาวนาเห็น ขณะเดียวกัน พวกสัตว์น้ำก็พากันลอยเป็นแพทุกครั้งที่คนมาตักน้ำ หรือเก็บดอกไม้ในบึง จนพวกชาวนาชักไม่สบายใจขึ้นทุกที
“เอ..หมู่นี้บ้านเราดูมันมีอะไรแปลก ๆ พิกล” ชาวนาคนหนึ่งปรับทุกข์กับเพื่อน “ไปไหนมาไหนก็
ได้เห็นนก หนู ปู ปลา ตายกันเรื่อยเชียว ดูท่าชักจะไม่ค่อยดีแล้วละ”
“นั่นสิ ถึงว่าเถอะ แม้แต่ไอ้ทุยของฉันก็ดูซึม ๆ ไป ฉันว่าลองไปหาผู้ใหญ่ดูดีไหม เผื่อแกจะช่วยได้บ้าง”
ผู้ใหญ่เรียกประชุมลูกบ้านและบอกทุกคนว่า ยาและสารเคมีที่พวกเขานำไปใส่ต้นข้าวนั้น มีผลร้ายอย่างไรบ้างอย่าลืมที่ปู่ตะพาบบอกไว้แล้วกันนะ อย่าเผลอไปเที่ยวกัดกินต้นข้าวของชาวนาเรื่อยเปื่อยอีกล่ะ เดี๋ยวเขาเดือดร้อน..
“เฮ่ย..เรื่องแบบนี้ผู้ใหญ่คงช่วยอะไรไม่ได้หรอก ข้าว่าเราไปถามหมอในเมืองดีกว่ามั้ง ไป..ไปด้วยกัน”
เหตุการณ์ดำเนินไปตามแผนของพวกสัตว์ เมื่อหมอในเมืองทราบเรื่องและมาตรวจที่ทุ่งนา ก็รู้ได้ทันทีว่าเกิดอะไรขึ้น หมอรีบขอให้ผู้ใหญ่เรียกประชุมลูกบ้านและบอกทุกคนว่า ยาและสารเคมีที่พวกเขานำไปใส่ต้นข้าวนั้น มีผลร้ายอย่างไรบ้าง ทำให้ชาวบ้านพากันเลิกใช้ แล้วความสงบสุขจึงกลับมาเยือนทุ่งนาและบึงน้ำอีกครั้ง

“ปลาแสนสวยจ๋า แหม..ว่ายน้ำเพลินเชียวนะ ไม่ทักทายกันบ้างเลย”
“อ้าว! พี่ปูนา ขอโทษเถอะจ้ะ ไม่ทันเห็นจริง ๆ เป็นไงบ้างล่ะจ๊ะ พักนี้”
“สบายดีจ้ะ” ปูนาตอบ “เดี๋ยวนี้ฉันไปเที่ยวทุ่งทุกวันเลย หาอะไรกินได้ตั้งเยอะแยะ ไม่ต้องคอยระวังเหมือนก่อน พูดก็พูดเถอะนะ เรื่องนี้ต้องขอบใจเธอจริง ๆ ที่มีหัวคิดเจ๋งมาก นี่ถ้าไม่ได้เธอช่วยละก็   เฮ้อ..ป่านนี้..”

“แหม..ไม่เอาน่า พูดอย่างนี้ฉันก็เขินแย่สิ ว่าแต่ว่าอย่าลืมที่ปู่ตะพาบบอกไว้แล้วกันนะ อย่าเผลอไปเที่ยวกัดกินต้นข้าวของชาวนาเรื่อยเปื่อยอีกล่ะ เดี๋ยวเขาเดือดร้อนหนักเข้า ก็จะเอายามาใส่  ทำให้พวกเราลำบากกันอีกหรอก” ปลาสาวพูด

“โธ่เอ๊ย..ไม่ต้องห่วงหรอก ฉันจำได้แม่นเชียวละ ฉันสัญญากับตัวเองแล้วว่า จะไม่ทำให้ชาวนา
ต้องเดือดร้อนเป็นอันขาด ไม่ใช่แค่ฉันเท่านั้นนะ เพื่อน ๆ ฉันก็เหมือนกัน รับรองน่า...” ว่าแล้ว ปูนาก็เดินจากไปอย่างมีความสุข

แดดอ่อน ๆ ยามเช้า สาดแสงลงมากระทบระลอกคลื่นเหนือบึงใหญ่ เป็นริ้วทอประกายระยิบระยับแดดอ่อน ๆ ยามเช้า สาดแสงลงมากระทบระลอกคลื่นเหนือบึงใหญ่ เป็นริ้วทอประกายระยิบระยับ
ราวกับเป็นสัญญาณเริ่มต้นชีวิตใหม่ของบรรดาสัตว์ทั่วบริเวณบึงน้ำ
ไกลออกไป ต้นข้าวกำลังทอดใบเขียว พลิ้วโอนเอนเป็นผืนยาวสุดสายตา สายลมอ่อน ๆ พัดโชย  นำความร่มเย็นและสุขสงบมาสู่ทุกชีวิตอีกครั้ง...
http://planetpt.blogspot.com/search/label/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81

นิทาน (๑) ปลาสาวเจ้าปัญญา



วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

เพลง [s] "นกกับหนอน"

เพลง [s] "นกกับหนอน"


นกน้อยตัวหนึ่งบิน หากินไปเรื่อยตามสุมทุมพุ่มไม้
นกน้อยตัวหนึ่งบิน หากินพอเหนื่อยแวะพักนอนเรื่อยไป
สบายใจเหลือเกิน

ผ่านมาเจอะเจอเอ้อเฮอเจ้าหนอนตัวใหญ่
จะจับเอาไปใส่โพรงไว้มื้อเย็นกิน
ฝ่ายเจ้าหนอนแสนเกรงกลัว
เสียงระรัวทำตัวเล็กลง
ร้องตรงตรงบอกอย่าเพิ่งเลย อย่าเพิ่งกิน

จะให้กินพรุ่งนี้...

เจ้านกน้อยงงจนพูดอะไรไม่ออก

เผลอใจไปรับคำโดยดี
อ้อยอี๋เอียง..อ้อยอี๋เอียง..แล้วบินเลยลับไป
อ้อยอี๋เอียง..อ้อยอี๋เอียง..แล้วบินเลยลับไป
ตื่นนอนกลับมาตรวจตราหาหนอนตัวเก่า
แปลก..แปลกจริงเราทำไมหาหนอนไม่เจอ
กว่าจะรู้ เจ้าหนอนกลายไปเป็นผีเสื้องดงาม
ร้องมาตามสายลมเบา ๆ
เจ้านกเอย..เจ้านกเอย เชิญสิ เชิญมากิน

เจ้านกน้อยงงจนทำอะไรไม่ถูก
ร้องไปตามหัวใจงง ๆ
หม่ำไม่ลง...หม่ำไม่ลง แล้วบินเลยลับไป

หม่ำไม่ลง...หม่ำไม่ลง แล้วบินเลยลับไป

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

เกร็ดภาษาไทย 🌀 บล๊อก...บล็อก...ไม้เจ็ด...ไม้แปด...หลักการใช้ไม้ตรี ไม้ไต่คู้

เผลอไปกับเทศกาลงานฉลองช่วงลงปีเก่าขึ้นปีใหม่เพียง
แว่บเดียว วันเวลาก็ผ่านเลยครึ่งเดือนแรกของปีแล้ว
สมกับคำที่โบราณท่านว่าไว้จริง ๆ “เวลาและวารี ไม่เคยรอรีคอยท่าใคร...”
ขอเปิดศักราชใหม่ต้อนรับปีเสือด้วยคำง่าย ๆ ว่า “บล็อก” ที่บังเอิญได้ยินวัยรุ่นเขาคุยกัน
ว่าอยากจะทำนี่แหละ แล้วจึงเลยไปถึงการถกเถียงกันเรื่องไม้เจ็ดไม้แปดไปโน่น
ตอนแรกนึกว่าเขากำลังพูดถึงเรื่องวิ่งผลัด...
เอ..แล้ววิ่งผลัดประเทศไหนกันนะที่มีไม้เจ็ดไม้แปด สุดท้ายจึงจับความได้ว่า ไม้เจ็ดไม้แปดที่เขาหมายถึงก็คือ ไม้ตรีและไม้ไต่คู้ที่ใช้สะกดคำว่า “Blog”ในภาษาไทยนี่เอง จะใช้ไม้อะไรดี...
ที่จริง ถ้าจับหลักได้ก็ง่ายนิดเดียวสำหรับการทำความเข้าใจในเรื่องนี้

เริ่มจากไม้ตรีหรือ ๗ หรือเลขเจ็ดไทยเด็กบางคน เรียกก่อน..
เรารู้กันอยู่แล้วว่า ไม้ตรี คือวรรณยุกต์ที่ใช้ผันเสียงตรีให้กับอักษรกลางเท่านั้น ส่วนอักษรต่ำ จะต้องใช้ไม้โทในการผันเสียงตรี...


หลักข้อต่อมา ว่าด้วยไม้ไต่คู้...
ไม้ไต่คู้ เป็นเครื่องหมายกำกับสระให้ออกเสียงสั้น และใช้กำกับเฉพาะพยางค์ที่มีตัวสะกด เท่านั้น ยกเว้นคำว่า “ก็”ซึ่งลดรูปมาจาก “เก้าะ” เป็นคำเฉพาะเพียงคำเดียว นอกนั้น มักใช้วิธีเปลี่ยนรูปไปเลย เช่น เอะ+น = เอ็น, เหะ+น = เห็น, แขะ+ง = แข็ง, เลาะ+ก = ล็อก เป็นต้น..

โดยทั่วไป ไม้ไต่คู้มักใช้กำกับคำไทยและคำจากภาษาอื่นที่ไม่ใช่บาลี สันสกฤตเพื่อกำหนดให้ออกเสียงสั้น เช่น เค็ม เซ็ง เผ็ด เสร็จ เสด็จ ฮาเร็ม ช็อกโกเล็ต...ฯลฯ ที่ไม่ต้องการออกเสียงสั้นก็ไม่ต้องใส่ไม้ไต่คู้เช่น เลน เสน เบน เอน...ฯลฯ ส่วนคำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤต ถือเป็นข้อต้องห้ามมิให้ใช้ไม้ไต่คู้กำกับ แม้จะออกเสียงสั้นก็ตามตัวอย่างคำเหล่านี้ที่เราคุ้นเคยกันดีก็เช่น คำว่า เพชร เบญจวัคคีย์ เป็นต้น

ปัญหาต่อไปที่น่าพิจารณาก็คือ แล้วเสียงตรีได้มาจากไหน ในเมื่อไม้ไต่คู้ไม่ใช่วรรณยุกต์ แต่ทำไมจึงมีอำนาจผันเสียง ดังที่ปรากฎในคำว่า “ลอก” (เสียงโท) กลับกลายเป็นเสียงตรีทันทีที่ใส่ไม้ไต่คู้กำกับ (ล็อก)
 เช่นเดียวกับคำว่า “บลอก” (เสียงเอก) ซึ่งมีอักษรนำเป็นอักษรกลางจึงออกเสียงตรีได้ก็ต่อเมื่อมีวรรณยุกต์ตรี (๗) กำกับ (บล๊อก) แต่เนื่องจากแม้มีเสียงตรีปรากฏ ก็ยังมิใช่ออกเสียงสั้นอย่างแท้จริง จึงต้องใช้ไม้ไต่คู้กำกับ เพื่อให้ได้เสียงสั้นตามต้องการ

คำตอบของการผันเสียง จึงมิได้อยู่ที่ไม้ใต่คู้แต่อย่างใด หากอำนาจของการผันเสียงอยู่ที่พยัญชนะ
ที่ผันไปตามอักษรสูง กลาง ต่ำ นั่นเอง...
คำว่า Blog เมื่อเขียนเป็นภาษาไทยจึงควรใช้ว่า “บล็อก” เช่นเดียวกับคำว่า Taxi เมื่อ
เขียนเป็นภาษาไทยก็ควรใช้ “แท็กซี” โดยอาศัยหลักเดียวกัน
เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้...

                                   บล๊อก...บล็อก...ไม้เจ็ด...ไม้แปด...หลักการใช้ไม้ตรี ไม้ไต่คู้
เกร็ดภาษาไทย/ภาษาไทย-ใช้ให้เป็น   https://planetpt.blogspot.com/search/label/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%20%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99

โพสต์แนะนำ

สาระนิทาน ชุด ไม้ไทยใจดี 🍽 เรื่อง "ข.ข้าว ขาว ขาว"

เขียวเอย...เขียวพรมผืนใหญ่ ใครมาถักทอไว้ แลไกลสุดตา  เจียวเอย... ตัวฉันนั่นไง  ใบ ข้าว เขียวเขียว ยืนต้นเดี่ยวเดี่ยว  ร...